วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สถานที่สำคัญของประเทศฟิลิปปินส์




อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ (Tubbataha Reefs Natural Park)

          อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 130,028 เฮกตาร์ มีแนวปะการังเหนือและใต้ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์แล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของนกและเต่าทะเลอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผาหินปะการังใต้น้ำเก่าแก่ที่มีความสูงถึง 100 เมตร องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติเมื่อ พ.ศ.2536





โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ (Baroque Churches of the Philippines)

          โบสถ์แห่งนี้มีทั้งหมด 4 หลัง ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ซานตามาเรียปาโออาย และมิอากาโอ หลังแรกสร้างขึ้นโดยชาวสเปนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีศิลปะแบบบาโรกของยุโรปที่สร้างโดยช่างฝีมือชาวจีนและฟิลิปปินส์ องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ พ.ศ.2536





นาข้าวขั้นบันไดบานัว (Banaue Rice Terraces)

          ชาวพื้นเมืองเผ่าอิฟูเกา (Ifugao) เป็นผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาชิ้นนี้ไว้ที่เกาะลูซอน (Luzon) ตอนเหนือของฟิลิปปินส์ มีอายุมากกว่า 2,000 ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาหน้าดิน ช่วยกักเก็บน้ำฝน และป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ.2538





เขตนครประวัติศาสตร์วีกัน (Historic Town of Vigan)

          สร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างการวางผังเมืองแบบสเปนที่ดีที่สุดในเอเชีย สิ่งก่อสร้างต่างๆ ในเมืองนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากได้รับอิทธิพลที่หลากหลาย ทั้งจากจีนและยุโรป และเพื่อเป็นการรักษาสภาพสถานที่แห่งนี้เอาไว้ จึงอนุญาตให้รถม้าเท่านั้น องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ พ.ศ.2542





ป่าอุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต – ปรินเซซา 
(Puerto – Princesa Subterranean River National Park)

          อุทยานแห่งนี้มีภูมิทัศน์ที่งดงามของภูเขาหินปูนและแม่น้ำใต้ดินที่ไหลผ่านถ้ำลงสู่ทะเล ที่มีความยาวถึง 8.2 กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นแม่น้ำใต้ดินที่ยาวที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนของกลุ่มระบบนิเวศต่อเนื่องแบบเทือกเขาสู่ท้องทะเล (Full Mountain to Sea Ecosystem) อีกด้วย องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ.2542





ป้อมซานติเอโก (Fort Santiago)

          เคยเป็นด่านแรกที่ใช้ในการป้องกันการโจมตีจากข้าศึก โดยเฉพาะข้าศึกที่เข้ามาทางปากแม่น้ำปาซิกและอ่าวมะนิลา แต่ก็ถูกกองทัพสหรัฐฯ ทำลาย ซึ่งต่อมาก็มีการบูรณะซ่อมแซมให้เป็น “ปูชนียสถานแห่งเสรีภาพ (Shrine of Freedom)

ของซื้อของฝาก



มะม่วง ของฝากที่นิยมมากที่สุด
       อย่าไปคาดหวังอะไรมากนักกับการมาเที่ยวที่นี่ แต่ถ้าจะซื้อของติดไม้ติดมือไปฝากคุณผบ.ที่รักแล้วล่ะก็ ซื้อมะม่วงอบแห้งไปน่ะดีที่สุดแล้ว เพราะคุณภาพส่งออกเค้าแน่จริง นอกจากมะม่วงแล้วที่นี่ยังมีฝรั่งอบแห้ง มะละกออบแห้ง แต่ความดังก็ยังไม่เท่ามะม่วง


พัดแบบสเปนอันขึ้นชื่อของฟิลิปปินส์

       ด้านงานหัตถกรรมทำมือที่สวยงามก็จะมีพัดแบบสเปน คนที่นี่ไม่ว่าหญิงหรือชายต่างพกพัดกันทั้งนั้นเพราะอากาศร้อนอบอ้าว



ผ้าเช็ดหน้าผลิตจากใยสับปะรด

       อีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ขึ้นชื่อคือผ้าใยสับปะรด ซึ่งราคาสูงมากเมื่อนำมาผลิตเป็นเสื้อ ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองแก้ว ผ้าเช็ดหน้า สนนราคาเมื่อเป็นผ้าคลุมเตียงจะราวๆ หมื่นกว่าๆ หากเป็นผ้าปูโต๊ะก็แปดพัน เป็นเสื้อเชิ้ตก็จะตัวละสองพันกว่าบาทเค้าบอกว่าเป็นงานฝีมือจริงๆ ราคาจึงสูงมาก ด้านงานแกะสลักไม้ก็สวยงาม แต่เนื้องานจะคล้ายภาคเหนือบ้านเรา และมีกระเป๋าผ้าปักที่ทำในมินดาเนานั่นก็ขึ้นชื่อเหมือนกัน


ข้อควรระวัง
1. เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์ประชากรเยอะมาก เพราะขาดการคุมกำเนิด เค้าว่าผิดหลักศาสนานิกายคาทอลิก ก็เลยมีลูกหลานยั้วเยี้ยเต็มไปหมด อีกทั้งช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนสูงมาก ทำให้มีขอทานและมิจฉาชีพค่อนข้างเยอะ

       อย่าใส่เครื่องประดับของมีค่า และอย่าสะพายกล้องตัวใหญ่ไว้ด้านนอก เพราะขณะถ่ายรูปเราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าใครคือคนร้ายที่อยู่รอบตัวเรา หากเดินไปในที่ชุมชนให้ระมัดระวังกระเป๋าสตางค์และกระเป๋าสะพาย ให้กอดกระเป๋าตัวเองให้แน่น อีกทั้งถ้าจะเดินไปไหนมาไหนตอนดึกๆ ไม่แนะนำให้เดินคนเดียว โดยเฉพาะตามที่เปลี่ยว เพราะคนไร้บ้านค่อนข้างเยอะ

       รวมไปถึงอย่าไปดื่มน้ำผลไม้บางที่ที่ขายใส่แก้ว เพราะอาจโดนวางยาได้ ให้ซื้อน้ำดื่มจากในร้านค้าสะดวกซื้อจะดีกว่า

2. อีกเรื่องที่สำคัญสำหรับคนเป็นโรคแพ้อากาศแพ้ฝุ่น ที่กรุงมะนิลาจะเต็มไปด้วยมลพิษและฝุ่นละอองจากรถยนต์ เนื่องจากการจราจรติดขัดมากกว่ากรุงเทพฯ และมีจำนวนรถบนท้องถนนมากกว่า แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย จะได้ป้องกันทั้งฝุ่นมลพิษ และเชื้อโรคไข้หวัดได้ด้วย


3. การใช้บริการรถสาธารณะโดยเฉพาะรถแท็กซี่ หากเห็นเป็นนักท่องเที่ยว เค้ามักจะไม่ค่อยกดมิเตอร์ แต่จะเสนอราคามาค่อนข้างสูง ให้ปฏิเสธไปเลยและพยามยามเลือกคันที่จะกดมิเตอร์  นอกจากนี้ควรรู้จักถนนหนทางที่ตนจะไปด้วย ควรระบุพิกัดให้เรียบร้อยว่าแถวนั้นมีอะไรหรืออยู่ใกล้ที่ไหน  ไม่เช่นนั้นแท็กซี่จะพาคุณอ้อมเพื่อให้มิเตอร์ขึ้นสูง และเมืองหลวงมะนิลานั้นใหญ่โตมาก คนขับแท็กซี่เค้าไม่รู้จักทุกซอกทุกมุมของมะนิลาหรอกนะ

เทศกาล Dinagyang Festival ประเทศฟิลิปปินส์




       Dinagyang Festival เป็นเทศกาลทางศาสนาและวัฒนธรรมของเมือง Lloilo เทศกาลนี้ได้รับการโหวตว่าเป็นเทศกาลที่น่ามาท่องเที่ยวที่สุดประจำปี 2006, 2007 และ 2008 โดยการท่องเที่ยวของประเทศฟิลิปปินส์ และยังเป็นเทศกาลแรกของโลกที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชน





       Dinagyang Festival เป็นเทศกาลทางศาสนาและวัฒนธรรมของเมือง Lloilo ประเทศฟิลิปปินส์ โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงอาทิตย์ที่สี่ของเดือนมกราคม เพื่อเฉลิมฉลองและเป็นเกียรติให้กับ  Santo Niño
       





       ภายในเทศกาลจะมีการเดินขบวนพาเหรดของชนเผ่า Ati มีการเต้นรำเฉลิมฉลองโดยแต่งกายด้วยวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติ ที่มีความสวยงามและแปลกตา ตามสีสัน ซึ่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป ตกแต่งหน้าตาด้วยสีที่มาจากธรรมชาติ ดูสวยงามและน่าเกรงขามไปพร้อมๆกัน และเต้นรำไปกับดนตรีที่มีเอกลักษณ์ประจำเผ่า

สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย




1. ประเทศฟิลิปปินส์เล็กกว่าประเทศไทย 2.5 เท่า แต่มีประชากรมากกว่าไทยเรา ราวๆ 82 ล้านคน
2. มีเกาะเยอะที่สุดในโลก บางคนอาจจะเถียงว่าเป็น อินโดนีเซีย
3. ประเทศฟิลิปปินส์ยากจน
4. สภาพบ้านเมืองก็ไม่สวยงาม ไม่สะอาดตา
5. ที่กรุง "มะนิลา" เป็นเมืองหลวงที่มี "สลัม" เยอะอันดับต้นๆของโลก
6. ย่านธุรกิจ Quiapo วุ่นวายมาก
7. จากข้อ 6 มีสลัมที่พวกลักเล็กขโขยน้อยเยอะด้วย
8. คนที่เมืองหลวง มะนิลา จะอาศัยอยู่ตาม อพาร์ตเม้นต์เป็นหลัก
9. แต่...อพาร์ตเม้นต์เหล่านั้นก็มักรกรุงรัง ไม่สะอาด เสียงดัง และคับแคบราวยังกะรังหนู
10. ฟิลิปปินส์มีความห่างของฐานะเยอะมาก คนรวยอักโข คนจน จนมากมาย
11. คนฟิลิปปินส์ไม่มีศูนย์รวมใจ เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรง รัฐบาลจะใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรงถึงเลือดเนื้อโดยไม่แคร์ชีวิตประชาชน
12. คนฟิลิปปินส์บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนคนไทย แต่ก็ปลูกได้น้อย จึงต้องทำนาแบบขั้นบันได
13. ในเมืองไทยหากวิกฤตข้าวแพงขึ้นราคายังไม่สาหัสอะไร แต่หากเป็นฟิลิปปินส์จะเดือดร้อนอย่างมากเลยทีเดียว
14. จนต้องนำเข้าหักๆ มาหุงเพื่อรับประทานกัน
15. ข้าวหักๆ คือข้าวคุณภาพต่ำที่คนไทยนำไปหุงเลี้ยงหมานั่นแหละ
16. "แกง" ของฟิลิปปินส์นิยมตำข้าวลงไปเป็นส่วนผสมหนึ่งด้วย น้ำแกงจะได้ข้นๆ
17. พระเจ้า! คนฟิลิปปินส์ไม่มีมะนาวนะคะ มีแต่ส้มจี๊ด เค้าเรียกมันว่า กาละมังซี่ ไม่เปรี้ยวเท่าไหร่ และไม่หอมด้วย
18. สิ่งที่เถียงไม่ได้ คือ คนฟิลิปปินส์รูปร่างหน้าตาเหมือนคนไทยมากจริงๆ
19. แต่ คนฟิลิปปินส์ผิวจะคล้าเกรียมว่าคนไทย เพราะเป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อิทธิพลทางทะเลเต็มที่
20. คนฟิลิปปินส์เหมาะมากกับความเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะผิวสีน้ำตาลจะดูดีมากกว่าผิวขาวๆ ดังนั้น คนฟิลิปปินส์จึงใส่เสื้อเกาะอก สายเดี่ยว หรือ ผู้ชาย ใส่เสื้อกล้าม จะดูเหมาะ และดูดี
21. ชาวฟิลิปปินส์มีสไตล์ลูกครึ่งเยอะมาก หลายชาติเสียด้วย ประกอบกับในอดีตเคยเป็นประเทศอาณานิคมของทั้ง สเปน อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส
       เราพบว่าคนฟิลิปปินส์หน้าเหมือนคนไทยแล้ว จำนวนมากมีหน้าตาผิวพรรณแบบฝรั่ง ตะวันตกเป๊ะ หรือบางส่วนหน้าตาแบบแขกๆก็มีอยู่มาก ทั้งความเป็นปินอยด์มีเชื้อทางอินโดมาผสมทางตอนใต้และทางจีนทางเกาะไต้หวันผสมในตอนเหนือ
       จึงไม่แปลกที่หลายคนมองว่านายแบบและนักแสดงชายฟิลิปปินส์นั้นดูหล่อเข้มกว่าไทย สังเกตุดีๆ นายแบบ นักแสดงชาย ของฟิลิปปินส์มองลึกๆที่นัยน์ตา มองภาพรวมของใบหน้าหันซ้ายหันขวาจะดูอมๆ จะปินอยด์ก็ไม่ใช่ จะหน้าตะวันตกก็ไม่เชิง
22. สาวฟิลิปปินส์มองว่า สาวไทย นั้น "สวย" แต่ สาวฟิลิปปินส์เอง "ไม่สวย"
23. แต่ความ sexy เค้ามองว่า สาวปินอยด์ "Sexy" แต่ สาวไทย "ไม่ Sexy"
24. ลูกค้าชาวฟิลิปปินส์ในไทยมักซื้อของและต่อรองราคาอย่างน่ารำคาญและและโคตรน่าเบื่อจนเคยตัว
25. แต่นิสัยของคนฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่จะเป็นมิตร ภาษาอังกฤษดี ชอบทำตัวสบายๆ และผูกมิตรกับคนอื่นได้ง่าย
 24. แต่ข้อเสียก็มี คนฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ชอบนินทา ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตัวเอง
25. ประเทศฟิลิปปินส์อาจไม่น่าอยู่น่าชื่นชมนักสำหรับคนไทย คอรัปชั่นเยอะ พวกลักเล็กขโมยน้อยก็เยอะด้วย เพราะเค้ายากจน ระวังไว้
26. ทะเล ชายหาด รีสอร์ทของฟิลิปปินส์สวยงามไม่แพ้เมืองไทยเลย
27. ตามชนบทบ้านนอกก็มีทุ่งนา  ต้นไม้ เหมือนกับไทย แต่...มีภูเขาไฟตั้งเด่นอย่างน่าเกรงขาม
28. จากการพูดคุยกับชาวฟิลิปปินส์ (รวมถึงนั่งดูรายการทีวีและฟังจากสถานีวิทยุ) ทราบว่า ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์ มีการใช้ภาษาที่เรียกว่า ทากรีส (Tagalog + English) คือพูดตากาล็อกคำอังกฤษคำ ผสมกันไปในประโยคสนทนา แต่เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ของประชาชน แม้แต่ในรายการทีวีและรายการวิทยุ
29. คนฟิลิปปินส์สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี ก็เพราะค่านิยม
30. ใครสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เขาจะยกให้เป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง แต่ถ้าใครพูดอังกฤษไม่ได้แต่พูดกาตาล้อคได้ก็จะถูกถีบให้ไปเป็นพลเมืองชั้นสอง แต่ถ้าพูดไม่ได้ทั้งอังกฤษและกาตาล้อคจะกลายเป็นพลเมืองชั้นสามไปเลย เขาแบ่งกันอย่างนี้จริงๆ
31. ภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยเราก็ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือการสื่อสารเท่านั้น ใครพูดได้ก็ดี พูดไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหายอะไรมากเพราะประเทศเราไม่มีความจำเป็นใดใดที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารระหว่างคนในชาติ
32. แต่สำหรับคนฟิลิปปินส์ภาษาอังกฤษเป็นยิ่งกว่าเครื่องมือการสื่อสาร เพราะมันหมายถึงการได้รับการศึกษาที่ดีและที่สำคัญที่สุดคือ การมีโอกาสได้ไปทำงานต่างประเทศ
33. ด้วยค่านิยมและสภาพการณ์ที่บีบบังคับแบบนี้ทำให้คนฟิลิปปินส์ต้องขวนขวายหาทางเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกพูดภาษาอังกฤษให้คล่องที่สุดเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของตัวเองและครอบครัว
35. คนฟิลิปปินส์ร้อยละ 90 อยากออกไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อต้องการหลุดพ้นจากขุมนรกในประเทศตัวเอง
36.  เพราะพวกเค้าอยากอพยพออกจากประเทศตัวเองเพื่อไปอยู่ประเทศอื่น เพื่อมีชีวิตที่ดีกว่า มีเงินเดือนที่ดีกว่า
37. จึงมีคนฟิลิปปินส์อยู่ต่างประเทศมากมายเต็มไปหมด
38. มีชาวฟิลิปปินส์อยู่ในฮ่องกงราวๆ สามแสนคน
39. แต่ชาวฮ่องกงมีทัศนคติด้านลบต่อชาวฟิลิปปินส์นานกว่า 10 ปี เพราะที่ผ่านมาคนฟิลิปปินส์ไปเป็นคนรับใช้หรือเป็นแม่บ้านให้เค้าเป็นจำนวนมาก (ขี้ข้านั่นแหละ)
40. ในเมืองไทยก็มีชุมชนชาวฟิลิปปินส์ พวกนั้นมาอยู่โดยการเป็นครูสอนภาษา และพวกนักแสดงและนักกายกรรม
41. หากเป็นไปได้ชาวฟิลิปปินส์อยากได้สัญชาติของประเทศที่ตัวเองไปอยู่เลยทีเดียว เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปที่บ้านเกิดเมืองนอนอีก
42. คนไทยหลายๆคน ไม่ชอบคนฟิลิปปินส์ในหลายๆเรื่อง
43. เรื่องที่เราคนไทยไม่ชอบคนฟิลิปปินส์ มาจากสภาพแวดล้อมของเค้าที่เป็นอย่างนั้น พวกเค้ายากจน บ้านเมืองมีปัญหามากกว่าไทย
44. แต่กระนั้น คนดีๆในฟิลิปปินส์ก็พอจะมีอยู่เช่นกัน ดังนั้นหากเราเจอเรื่องร้ายๆ แย่ๆ จากการไปอยู่ในฟิลิปปินส์หรือจากคนฟิลิปปินส์ที่อยู่ในไทย มองโลกสองด้านไว้ อย่าเหมารวมคิดว่าคนฟิลิปปินส์สันดานเหมือนกันไปหมดทุกคน...

ข้อมูลทั่วไปของประเทศฟิลิปปินส์





       ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 7,100 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะบอร์เนียว และอยู่ทางใต้ของเกาะไต้หวัน หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเซียประมาณ 970 กิโลเมตร

       หมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร มีเกาะใหญ่ 11 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด เกาะต่าง ๆ ได้มีการตั้งชื่อแล้วไม่ถึงครึ่งของจำนวนเกาะทั้งหมด มีคนอยู่อาศัยบนเกาะต่าง ๆ เพียงประมาณ 900 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะลูซอน อยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา ที่อยู่ทางใต้

       เกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์ ถ้าวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ จะมีความยาวประมาณ 1,850 กิโลเมตร ถ้าวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก จะมีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร เกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่คือ

       หมู่เหนือ ประกอบด้วย สองเกาะใหญ่ ๆ คือ เกาะลูซอน (Luzon) และเกาะมินโดโร (Mindoro)
หมู่กลาง เรียกว่า Visa yas ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 7,000 เกาะ

       หมู่เกาะใต้ ประกอบด้วย เกาะมินดาเนา (Mindanao) และ Sulu Archipa lago หมายถึง หมู่เกาะต่าง ๆ ประมาณ 400 เกาะ ซึ่งอยู่เรียงรายทางใต้ของเกาะมินดาเนา ไปจนถึงทางทิศตะวันตกของเกาะบอร์เนียว
เกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์ ที่มีพื้นที่ 1 ตารางไมล์ หรือมากกว่าเล็กน้อยมีอยู่ไม่ถึง 500 เกาะ ตลอดชายฝั่งทะเลมีอ่าวเล็ก อ่าวใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแนวฝั่งที่ยาว กว่าแนวฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ มีร่องลึกมินดาเนา ซึ่งเป็นทะเลที่มีความลึกมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คือ มีความลึกมากกว่า 10,400 เมตร

ภูเขาและเทือกเขา 
       เทือกเขาบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกภูเขาไฟ ที่ตั้งรายล้อมเป็นวงกลม ในมหาสมุทรแปซิฟิค มีแม่น้ำและทะเลสาบ อยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ระหว่างช่องเขา ภูเขาที่สูงที่สุดในฟิลิปปินส์คือ ภูเขาอาโป (Apo) มีความสูงถึง 2,950 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา

        ฟิลิปปินส์มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอีก 50 แห่ง และมีภูเขาหินปูนอยู่กระจัดกระจาย ตามบริเวณเกาะต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้น เกาะฟิลิปปินส์ ยังตั้งอยู่ในแนวแผ่นดินไหวของโลกอีกด้วย จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นบ่อยๆ

ที่ราบระหว่างเนินเขาต่างๆ
       มีดินที่อุดมสมบูรณ์ดี เพราะได้ปุ๋ยจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ เหมาะแก่การเพาะปลูก

แม่น้ำสำคัญ
       แม่น้ำในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ มีขนาดเล็กๆ และสั้นคล้ายญี่ปุ่น และมีอยู่เป็นจำนวนมาก แม่น้ำใหญ่ๆ มีอยู่ไม่กี่สาย แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสายใช้เป็นเส้นทางเดินเรือกลไฟ และเรืออื่นๆ แม่น้ำที่สำคัญของฟิลิปปินส์คือ

       แม่น้ำคากายัน (Cagayan) อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียเหนือของเกาะลูซอน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ มีความยาวประมาณ 320 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ ให้น้ำสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 16,00 ตารางไมล์

       แม่น้ำอักโน (Agno) เป็นแม่น้ำที่ไหลอยู่ตามบริเวณเทือกเขาตอนกลางของเกาะลูซอน
แม่น้ำปามปันกา (Pampanga) เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ทางภาคเหนือ และภาคกลางของเกาะลูซอน แล้ไปออกทะเลทางเหนือสุดของอ่าวมนิลา

       แม่น้ำปาสิก (Pasig) แม่น้ำนี้มีความสำคัญเนื่องจากบนปากแม่น้ำสายนี้ เป็นที่ตั้งของกรุงมนิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า และเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ เป็นทางระบายน้ำของทะเลสาบน้ำจืด ลากูนา เดอ เบย์ (Laguna de bay) นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางการค้าของเรือกลไฟที่ขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงมนิลา กับบริเวณที่อุดมสมบูรณ์บนฝั่งทะเลสาบ

       แม่น้ำมินดาเนา เป็นแม่น้ำสำคัญบนเกาะมินดาเนา

ประชากร 
       ชาวเกาะฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกมองโกล ผสมผสาน มีผิวสีน้ำตาล แต่บางพวกก็มีผิวค่อนข้างขาว การที่ชาวฟิลิปปินส์มีลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นผล สืบเนื่องมาจากความซับซ้อนของเผ่าพันธุ์ อันเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติต่างๆ คือ

ชนเผ่าดั้งเดิม
       ตามตำนานของฟิลิปปินส์ กล่าวว่าประชาชนของตนเกิดมาจากปล้องไม้ไผ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดียืนยันว่า มีมนุษย์ดึกดำบรรพ์อย่างเช่น มนุษย์ชวา (Java man) อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์มาตั้งแต่สมัยน้ำแข็ง (Ice Age) มีลักษณะสมองเล็ก หน้าผากแคบลาดต่ำ มีความสูงประมาณ 4-5 ฟุต ผิวเนื้อดำแดง ผมหยิก ซึ่งเรียกกันว่า คนแคระ (Pigmy) ซึ่งปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์หมดแล้ว คนพวกนี้คือ บรรพบุรุษของชาวอีต้าส์ (Aetas)

เผ่าอินโดเนเซีย
       ระหว่าง 5,000 - 6,000 ปี มาแล้ว เมื่อยุคน้ำแข็งปกคลุมโลก เริ่มละลายแผ่นดินที่เชื่อมหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และทวีปเอเชีย จมหายไปในทะเล ในยุคนี้มีชาวอินโดเนเซีย จากเอเซียอาคเนย์ เดินทางเข้าไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์โดยทางเรือ พวกนี้รูปร่างค่อนข้างสูง ผิวไม่ดำนัก และริมฝีปากบาง รู้จักการใช้หินขัดทำขวาน สิ่ว และเครื่องมือที่ทำด้วยไม้ นักมานุษยวิทยาได้จัดแบ่งคนกลุ่มนี้ไว้ ในกลุ่มชาวอินโดเนเซีย เอ (A) และผู้ที่สืบทอดจากชนกลุ่มนี้ ได้กลายมาเป็นประชากรฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
       ในช่วงระยะเวลา 1,500 - 1,300 ปีก่อนคริสกาล มีชาวผิวดำ จมูกโตแบน จากอินโดเนเซีย และภาคใต้ของจีน เดินทางมาอยู่ในฟิลิปปินส์ ต่อมาชนกลุ่มนี้ก็กลายเป็นชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 18 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ชนกลุ่มนี้รู้จักการสร้างบ้าน หลัวคาทรงปิรามิด การทำนา บนที่ดอน และการคิดทำเครื่องมือช่วยในการทำนา ซึ่งทำด้วยหินชนิดแข็ง นักมานุษยวิทยาได้จัดคนพวกนี้เข้ากลุ่ม ชาวอินโดนีเซีย บี (B)

       ต่อมาประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล มีประชากรที่มีวัฒนธรรมสูง รู้จักใช้โลหะบรอนซ์ - ทองแดง (Bronze - Copper Culture) ได้นำเอาความรู้เรื่องการชลประทาน เพื่อการปลูกข้าวมาเผยแพร่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ด้วย ในปัจจุบัน คนที่สืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด คนกลุ่มนี้ถูกจัดไว้ในกลุ่มชาวอินโดนีเซียบี

ชาวมาเลย์
       มีลักษณะแบบชาวมองโกลอยด์ คือมีความสูงปานกลาง ค่อนข้างผอม แต่แข็งแรง จมูกแบน ผมดำตาสีน้ำตาล ผิวสีน้ำตาล ได้เดินทางมาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังพวกอินโดนีเซีย ชาวมาเลย์ได้พากันอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ 3 ครั้งด้วยกันคือ

       ครั้งแรก เข้าไปเมื่อประมาณ 300 - 200 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเดินทางมาในเรือลำเล็ก มาขึ้นที่เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา คนกลุ่มนี้รู้จักการทำชลประทานเพื่อการปลูกข้าว ประเพณีของชนกลุ่มนี้คือการล่าหัวมนุษย์ ชาวฟิลิปปินส์ปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ สันนิษฐานว่าคือชาวอีฟูเกา (Ifugaos) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาของภาคเหนือของเกาะลูซอน

       ครั้งที่สอง เข้ามาประมาณคริสตศตวรรษที่ 1 ติดต่อเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 9 ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวอาหรับและชาวจีน ทำการค้าขายอยู่ในเอเซียอาคเนย์ อย่างกว้างขวาง มีเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างจีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว และมะลักกา ชาวมาเลย์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในฟิลิปปินส์ครั้งที่สอง นี้มีวัฒนธรรมสูงมาก แข่งกับกลุ่มชาวจีน คือมีภาษาเขียนแบบของตนเอง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นประชากรส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบันซึ่งรวมถึงชาวตากาลอก (Tagalogs) อิโลคาโน (Ilocanos) บิคอลส์ (Bikols) วิสายัน (Visayans) และปามปันกา (Pampangans) อยู่ด้วย

       ครั้งที่สาม เข้ามาระหว่างปี พ.ศ.1893 - 1993 คนมาเลย์ที่อพยพเข้ามากลุ่มนี้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้นตระกูล ของชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาอิสลามในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ชาวมาเลย์กลุ่มนี้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามมาก่อน แต่ที่มานับถือ เนื่องมาจากราชามากินดา (Rajah Baguinda) ของซูลู และชาริฟมูฮัมเหม็ด กาบัง สุโรน (Sharit Muhammed Kabangsuroan) มาจากยะโฮร์ (Jahore) และต่อมาเป็นสุลต่านคนแรกของเกาะมินดาเนา นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ ในขณะที่พวกที่สืบเชื้อสายมาจากชาวมาเลย์ที่เข้ามาครั้งที่สอง หันไปนับถือศาสนาคริสต์ และใช้วัฒนธรรมแบบตะวันตก ซึ่งพวกสเปนนำไปเผยแพร่

ชาวจีน
       ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชาวจีนเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 11 โดยเริ่มจากการไปติดต่อค้าขายกับชาวหมู่เกาะ และได้อพยพไปตั้งบ้านเรือนและกลายเป็นชาวเกาะไป

       ประเทศไทยในสมัยสุโขทัยก็เคยติดต่อค้าขายกับหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลักฐานที่พบคือได้มีผู้ขุดพบเครื่องสังคโลก ในหมู่เกาะเชาตาควน (Chao Ta-kuan)

       นักเดินทางชาวจีนในคริสตศตวรรษที่ 10 ได้บันทึกไว้ว่า พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำเครื่องลายคราม ทองคำ แจกัน ทำด้วยเหล็ก เครื่องแก้ว ไข่มุก ผ้าไหม เป็นต้น ไปขายให้หมู่เกาะ และชาวเกาะได้ส่งฝ้าย และสิ่งของที่ทำด้วยปอมนิลา และมะพร้าว เป็นต้น ออกไปขายในต่างประเทศเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน

สเปน
       สเปนสนใจหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งแต่เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (Ferdinana Magellan) ได้เดินเรือมาถึงเกาะเซบู (Cebu) เพื่อแสวงหาเครื่องเทศ ชาวสเปนที่ติดตามมา เรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ว่า หมู่เกาะตะวันตก (Western Island) แมกเจลแลนได้เปลี่ยนชื่อหมู่เกาะเป็นชื่อ เซนต์ ลาซารัส (Saint Lazarus) แมกเจลแลนถูกฆ่าตายในการรบ ระหว่างชาวเกาะผู้ติดตามมาในขบวนเรือของเขา ได้คุมเรือกลับไปถึงสเปน เมื่อปี ค.ศ.1522 ชาวสเปนจึงได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับหมู่เกาะนี้

       ต่อมาในปี พ.ศ.1543 ชาวสเปน คนหนึ่งได้ให้ชื่อหมู่เกาะเสียใหม่ว่า เฟลิปปินา (Felipina) ต่อมาเปลี่ยนเป็น Philippine เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่เจ้าชายฟิลิป รัชทายาทแห่งสเปญ ชาวปอร์ตุเกส อ้างว่าหมู่เกาะฟิลิปปนส์เป็นของตน แต่สเปญไม่ยอม ในที่สุดเมื่อปี ค.ศ.1529 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาชื่อเซรากอสชา (Seragossa) โดยมีสาระสำคัญคือ

       สเปนยอมสละข้อเรียกร้องของตน เกี่ยวกับเกาะโมลัคคัส (Moluccas) และได้รับเงินจำนวน 350,000 ดูคัท (Ducat ) เป็นการตอบแทน

       เส้นแบ่งเขตโลกตะวันออก ได้ขยายออกไปทางทิศตะวันออกของเกาะโมลัคคัส เป็นระยะ 297 1/2 ลีค (Leagues - ประมาณ 900 ไมล์)

       ต่อมาเจ้าชายฟิลิป ได้ครองสเปน เมื่อ ค.ศ.1556 พระองค์สนพระทัย จะได้หมู่เกาะฟิลิปปินส์มาเป็นอาณานิคม จึงให้อุปราชสเปญประจำเมกซิโก เตรียมการจะยกทัพเรือไปยึดหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ต่อมาเมื่อปี ค.ศ.1564 ได้มีผู้คุมกองเรือสเปญมุ่งไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ขบวนเรือแล่นได้ถึงเกาะเซบู ปรากฎว่าชาวเมืองแสดงตนไม่เป็นมิตรต่อสเปญ ชาวปอตุเกสก็คอยรบกวนสเปนอยู่เสมอ

       ต่อมาในปี ค.ศ.1570 กองเรือสเปญดังกล่าวได้เข้าตีเมืองมนิลา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ของพวกโมโร (Moro) อยู่ในเกาะลูซอน อยู่ในการปกครองของ ราชา โซลิมัน (Rajah Soliman) เมื่อตีได้เมืองมนิลาแล้วก็ได้ประกาศตั้งเมืองมนิลาเป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เมื่อปี ค.ศ.1571 (พ.ศ.2114) หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จึงตกเป็นของสเปญตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ปรากฎว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไม่อุดมด้วยเครื่องเทศ รัฐบาลสเปญได้ส่งเสริมให้เผยแพร่คริสศาสนานิกายโรมันคาธอลิค คริสตศาสนานิกายนี้จึงได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของหมู่เกาะ เนื่องจากศาสนาอิสลาม มีผู้นับถืออยู่มากในภาคใต้ของหมู่เกาะ

       สเปนได้ตั้งผู้สำเร็จราชการมาประจำหมู่เกาะ ภายหลังงปี ค.ศ.1581 สันตปาปาได้ตั้งมนิลาเป็นศูนย์กลางของคณะบาดหลวง โดยตั้งอารต์ปิชอบ (Arch bishop) เป็นประมุข

       ปอร์ตุเกส ได้พยายามขับไล่สเปญให้ออกไปจากฟิลิปปินส์ โดยในปี ค.ศ.1570 ได้ยกขบวนเรือเข้าไปในท่าเรือเมืองเซอูล และบังคับให้สเปญรื้อป้อมที่เมืองนั้น แต่ชาวสเปญสู้รบอย่างเข้มแข็ง ในที่สุดกองเรือปอร์ตุเกสต้องล่าถอยกลับไป

ฮอลันดา
       ฮอลันดาได้ไปตั้งมั่นอยู่ในชวา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัตตาเวีย (Batavia) ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้น และบริษัทนี้ ได้ขยายตังออกไปปกครองหมู่เกาะใกล้เคียง ในระยะ 50 ปีแรกของคริสตศตวรรษที่ 17 ฮอลันดาได้ปะทะกับสเปญหลายครั้ง และเมื่อปี ค.ศ.1647 ได้ปะทะกันที่แหลมบาแทน (Bataan) ใกล้มนิลา ปรากฎว่า ฮอลันดาพ่ายแพ้ยับเยินไม่กล้าไปรบกวนสเปญ ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกต่อไป
อังกฤษ สเปญปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อย่างกดขี่ชาวพื้นเมือง

       ชาวพื้นเมืองที่ต้องการหลบอำนาจของสเปญ ก็มักจะไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ เพื่อขอความคุ้มครองจากบาดหลวง ประชาชนต้องจ่ายค่าส่วยสาอากร และถูกเกณฑ์แรงงาน จึงได้ก่อการกบฎต่อสเปญหลายครั้ง เช่นในคริสตศตวรรษที่ 17 มีถึง 13 ครั้ง แต่สเปญสามารถปราบปรามได้  ในตอนปลายสงครามเจ็ดปี (ค.ศ.1756 - 1763) กองทัพเรืออังกฤษได้เข้าโจมตีหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และยกพลขึ้นบกที่เมืองมนิลา และยึดเมืองไว้ได้ แล้วกระจายกำลังไปยึดครองภาคอื่น ๆ ของหมู่เกาะ อังกฤษยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่สองปี ก็ยุติลงด้วยสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ.1763) อังกฤษถอนตัวออก เมื่อปี ค.ศ.1764 สเปญก็กลับเข้าปกครองหมู่เกาะตามเดิม

สหรัฐอเมริกา
       ในปี ค.ศ.1895 ได้เกิดกบฎในคิวบา ที่สเปญปกครองอยู่ สหรัฐเข้าข้างพวกกบฎ สเปญได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐเมื่อปี ค.ศ.1898 กองเรือสหรัฐอเมริกาประจำน่านน้ำตะวันออก ได้นำกำลังไปยังน่านน้ำมนิลา เกิดการปะทะกับกองเรือสเปญ ผลจากการปะทะกัน สเปญยอมแพ้สหรัฐ ฯ ทั้งในฟิลิปปินส์และในคิวบา ยอมสงบศึกโดยทำสนธิสัญญาปารีส 1898 (Paris threaty 1898) ว่าสเปญมอบอิสระภาพให้คิวบา ให้คิวบาเป็นประเทศอิสระ

       ภายใต้การคุ้มครองของสหรัฐฯ มีฐานะเป็นรัฐลูกค้า (Client State) และสเปญโอน เปอร์โต ริโก (Puerto Rico) กับฟิลิปปินส์ให้สหรัฐ ฯ ส่วนสหรัฐฯ ยอมจ่ายเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่สเปญ
ในการปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการเพื่อให้หมู่เกาะได้เอกราชในที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ.1916 ได้ประกาศรัฐบัญญัติชื่อว่า Jones Act โดยมีความมุ่งหมายที่จะเพิกถอนอำนาจอธิปไตยของตน ออกจากหมู่เกาะฟิลิปปินส์

       ต่อมาในปี ค.ศ.1934 ได้มีการตรารัฐบัญญัติกำหนดระยะเวลาที่จะให้เอกราชกับหมู่เกาะ ในปี ค.ศ.1935 ฟิลิปปินส์ได้ตรารัฐธรรมนูญขึ้น ตั้งหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นวงไพบูลย์ร่วมกัน (Common Wealth) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แต่ยังคงปกครองภายใต้การควบคุมของข้าหลวงใหญ่สหรัฐ ฯ

ภาษา
       จากความซับซ้อนของประวัติความเป็นมาและเชื้อชาติ ทำให้ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดในปัจจุบันมากกว่า 100 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์ ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ - วาเรย์ (Waray - Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล (Bikol)

       สมัยที่ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในการปกครองของสเปญ เป็นเวลาประมาณ 300 ปีนั้น ภาษาทางราชการคือ ภาษาสเปญ และเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาปกครองต่อจากสเปญ เป็นเวลาอีกประมาณ 50 ปี ภาษาทางราชการก็เปลี่ยนมาเป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ ซึ่งแปลงมาจากภาษากาตาลอก อันมีรากฐานมาจากภาษามาเลย์ และเป็นภาษาบังคับในโรงเรียน แต่เนื่องจากทั่วประเทศ มีภาษาแตกต่างกัน หลายภาษาจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อกลาง

ศาสนา
       ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่นๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา

คนพื้นเมือง
       จะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี นอกจากเทพเจ้าแล้ว ชาวพื้นเมืองยังนับถือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวตก ผีพุ่งใต้ และรวมไปถึงการนับถือบูชาสัตว์บางชนิด เช่น นก และจรเข้ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ใหญ่ ที่มีอายุมาก แม่น้ำ ก้อนหิน ที่ถูกธรรมชาติตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และแปลก

       นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณก็จะต้องท่องเที่ยว จะได้ขึ้นสวรรค์ถ้าคนนั้นมีพฤติกรรมดี ส่วนผู้ที่กระทำชั่ว ดุร้าย โหดเหี้ยม ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะถูกพระเจ้าลงโทษ และนำไปสู่นรก ความเชื่อในยุคโบราณดังกล่าวยังคงมีอยู่ เป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตเห็นได้จากงานเทศกาล และพิธีการต่าง ๆ ของชาวฟิลิปปินส์

ศาสนาอิสลาม 
       เริ่มเข้ามาสู่คนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 โดยชนชาวอาหรับได้เข้ามาระหว่างที่มีการติดต่อค้าขายกับฟิลิปปินส์ ปัจจุบันศาสนาอิสลามเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก พวกนี้จะเรียกตนเองว่า โมโร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ในเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู เป็นส่วนมาก

ศาสนาคริสต์
       นิกายโรมันคาธอลิค เป็นนิกายที่สเปญนำเข้ามเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ ในระหว่างที่สเปญปกครองฟิลิปปินส์ คนฟิลิปปินส์ ให้การยอมรับนับถือนิกายนี้มาก และศาสนาคริสต์มีอิทธิพลในวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์มาก นอกจากนี้การนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค ยังสามารถมีสิทธิในการยกเว้นภาษี และได้รับผลประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย เพราะบาทหลวงจะเป็นผู้คอยปกป้องบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลา

       ด้วยสาเหตุดังกล่าว คริสต์ศาสนา จึงเป็นศาสนาประจำชาติ ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน นิกายโรมันคาธอลิค มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 83 นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ 3 รวมเป็นประมาณร้อยละ 86

       หลังจากที่สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในการปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐฯ ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ชาวฟิลิปปินส์อย่างมาก และเปิดโอกาสให้ประชาชน มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และได้นำเอานิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ด้วย จากสถิติของประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ นอกจากศาสนาคริสต์ แล้ว มีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ไม่นับถือศาสนาใดประมาณร้อยละ 2


ประเทศฟิลิปปินส์เล็กกว่าประเทศไทย 2.5 เท่า แต่มีประชากรมากกว่าไทยเรา ราวๆ 82 ล้านคน
อีกทั้งยังมีเกาะเยอะที่สุดในโลก บางคนอาจจะเถียงว่าเป็น อินโดนีเซีย

สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ ในประเทศฟิลิปปินส์

สิ่งที่ควรทำ 

1. คนฟิลิปปินส์จะทักทายด้วยคำว่า "กูมุสตา" และกล่าวคำว่า "ซาลามัต" (ขอบคุณ) หรือ "มาลามิง ซาลามัต" (ขอบคุณมากๆ) เพื่อแสดงความขอบคุณจากใจ เมื่อได้รับความช่วยเหลือ
2. ควรใช้คำนำหน้าที่สุภาพ เช่น เรียกผู้ชาย "เซอร์" ผู้หญิง "แหม่ม" "มาดาม" สำหรับบุคคลทั่วไปจนกว่าจะอนุญาตให้เรียกชื่อ และควรกล่าวถึงผู้อาวุโสอย่างสุภาพ ควรใช้คำว่า "ตีต้า" (ป้า) "ตีโต้" (ลุง) "คูย่า" (พี่ชาย) "เอท" (พี่สาว) สำหรับญาติของเพื่อน และจบประโยคด้วยคำว่า "โป" เพื่อแสดงความเคารพ และควรทักทายทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่อาวุโสกว่าเมื่อไปเยี่ยมเยียนที่บ้าน และกล่าวคำอำลาเมื่อจะจากกัน
3. คนฟิลิปปินส์จะทักทายเพื่อนด้วยการส่งยิ้มและเลิกคิ้วให้ และเมื่อคนฟิลิปปินส์โบกมือต้อนรับ ควรโบกมือตอบ เพื่อแสดงไมตรีจิตต่อกัน
4. เมื่อได้รับเชิญไปในโอกาสต่างๆ เป็นธรรมเนียมที่ควรไปถึงหลังเวลานัดครึ่งชั่วโมง ยกเว้นการนัดหมายอย่างเป็นทางการหรือเจรจาทางธุรกิจ
5. ควรแต่งกายอย่างสุภาพเรียบร้อย และเหมาะสมกับกาลเทศะ เพราะคนฟิลิปปินส์พิจารณาภาพลักษณ์จากการแต่งกาย
6. ถือเป็นธรรมเนียมที่ควรกล่าวชื่นชมยินดีเกี่ยวกับสถานที่ ที่ไปเยือนต่อเจ้าของสถานที่ด้วย
7. เมื่อได้รับเชิญไปในโอกาสต่างๆ ควรเขียนจดหมายขอบคุณด้วยลายมือไปยังเจ้าภาพ ภายใน 1 สัปดาห์ หลังงานเสร็จสิ้นแล้ว
8. เมื่อได้รับเชิญไปร่วมรับประทานอาหารควรนำขนม หรือดอกไม้ไปมอบให้เจ้าภาพด้วย
9. คนฟิลิปปินส์ถือว่าการห่อของขวัญเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรห่อด้วยความประณีตสวยงาม โดยไม่มีข้อห้ามเรื่องสีในการห่อสิ่งของ
10. การปฏิเสธคำเชื้อเชิญไม่ว่าเหตุใด ให้บอกว่าติดภารกิจอื่นซึ่งถือว่าเป็นคำปฏิเสธที่สุภาพที่สุด




สิ่งที่ไม่ควรทำ

1. ไม่ควรเรียกภรรยาของเจ้าบ้านว่า แม่บ้าน เพราะถือว่าเป็นคำดูถูก
2. ไม่ควรให้ดอกเบญจมาศ และดอกลิลลี่สีขาว เพราะถือเป็นดอกไม้ที่ใช้ในงานศพ
3. เมื่อได้รับของขวัญจากคนฟิลิปปินส์ ไม่ควรเปิดดูต่อหน้าผู้ให้ทันที
4. เมื่อได้รับเชิญไปงาน ไม่ควรนำกระเช้าผลไม้ไปให้เจ้าภาพ หรือส่งไปก่อน เพราะถือเป็นการดูถูก ควรให้หลังงานไปแล้ว เพื่อแสดงความขอบคุณ
5. ไม่ควรปฏิเสธอาหารที่คนฟิลิปปินส์ได้จัดเตรียมหรือตั้งใจนำมาให้ โดยเฉพาะอาหารที่ผู้ให้ปรุงด้วยตนเอง
6. ไม่ควรรับประทานหรือตักอาหารก่อนเจ้าภาพ
7. ไม่ควรใช้นิ้วชี้ไปยังคน หรือสิ่งของต่างๆ ถือว่าไม่สุภาพ แต่คนฟิลิปปินส์มักจะใช้การบุ้ยปากแทน
8. ไม่ควรพูดจาเสียงดัง แสดงความโกรธหรือการไม่เคารพ รวมถึงการวิพากวิจารณ์ผู้อื่นต่อหน้าเขา
9. ถ้าพบคนพูดภาษาท้องถิ่น และไม่สามารถสื่อสารกันได้ ไม่ควรแสดงความโกรธเกรี้ยว ควรหาคนอื่นมาสื่อสารแทน
10. ไม่ควรนัดคนฟิลิปปินส์ในวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันที่ไปโบสถ์และถือเป็นวันครอบครัว


ฮาโล ฮาโล (Halo Halo)


1020
ฮาโล ฮาโล ติดอันดับ 5 ของโลก


       จานเด็ดของชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ไข่บาลุท แต่รับประกันได้ว่าไม่น่าสะอิดสะเอียน ทั้งนี้ ฮาโล ฮาโล ไม่มีสูตรการทำที่แน่นอน แต่ดูๆไปก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำแข็งใสของบ้านเรา โดยนำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา


9

Halo-Halo เป็นประโยชน์หรือฟิลิปปินส์แบบดั้งเดิมประกอบด้วยส่วนผสมของผลไม้แยมหวาน, 
ระเหยนมและน้ำแข็งโกน มันเป็นเรื่องที่ยอดบ่อยครั้งกับตักไอศครีม ชื่อมีความหมายว่า “Mix-Mix.”


ส่วนผสม Halo Halo

1. ผลปาล์มหวาน
2. มะพร้าวอ่อนนุ่ม
3. ขนุน
4. ถั่วเขียว
5. กล้ากล้วยเหมือน
6. มันเทศสีม่วง
7. ข้าวโพด
8. วุ้นมะพร้าว
9. ข้าวแห้งทุบ
10. สาคู



วิธีทำ

1. นำน้ำแข็งใสบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง 
เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สัปปะรด และอื่นๆ
2. ปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชี่อม