วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

สถานที่สำคัญของประเทศฟิลิปปินส์




อุทยานปะการังทางทะเลทุบบาตาฮะ (Tubbataha Reefs Natural Park)

          อุทยานแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ 130,028 เฮกตาร์ มีแนวปะการังเหนือและใต้ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการังและสัตว์น้ำหลากหลายสายพันธุ์แล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของนกและเต่าทะเลอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีผาหินปะการังใต้น้ำเก่าแก่ที่มีความสูงถึง 100 เมตร องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติเมื่อ พ.ศ.2536





โบสถ์บาโรกแห่งฟิลิปปินส์ (Baroque Churches of the Philippines)

          โบสถ์แห่งนี้มีทั้งหมด 4 หลัง ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา ซานตามาเรียปาโออาย และมิอากาโอ หลังแรกสร้างขึ้นโดยชาวสเปนในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 มีเอกลักษณ์ที่สำคัญคือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีศิลปะแบบบาโรกของยุโรปที่สร้างโดยช่างฝีมือชาวจีนและฟิลิปปินส์ องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ พ.ศ.2536





นาข้าวขั้นบันไดบานัว (Banaue Rice Terraces)

          ชาวพื้นเมืองเผ่าอิฟูเกา (Ifugao) เป็นผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญาชิ้นนี้ไว้ที่เกาะลูซอน (Luzon) ตอนเหนือของฟิลิปปินส์ มีอายุมากกว่า 2,000 ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการเพาะปลูก นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาหน้าดิน ช่วยกักเก็บน้ำฝน และป้องกันน้ำท่วมได้อีกด้วย องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อ พ.ศ.2538





เขตนครประวัติศาสตร์วีกัน (Historic Town of Vigan)

          สร้างขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างการวางผังเมืองแบบสเปนที่ดีที่สุดในเอเชีย สิ่งก่อสร้างต่างๆ ในเมืองนี้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเนื่องจากได้รับอิทธิพลที่หลากหลาย ทั้งจากจีนและยุโรป และเพื่อเป็นการรักษาสภาพสถานที่แห่งนี้เอาไว้ จึงอนุญาตให้รถม้าเท่านั้น องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรมเมื่อ พ.ศ.2542





ป่าอุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โต – ปรินเซซา 
(Puerto – Princesa Subterranean River National Park)

          อุทยานแห่งนี้มีภูมิทัศน์ที่งดงามของภูเขาหินปูนและแม่น้ำใต้ดินที่ไหลผ่านถ้ำลงสู่ทะเล ที่มีความยาวถึง 8.2 กิโลเมตร ถือได้ว่าเป็นแม่น้ำใต้ดินที่ยาวที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนของกลุ่มระบบนิเวศต่อเนื่องแบบเทือกเขาสู่ท้องทะเล (Full Mountain to Sea Ecosystem) อีกด้วย องค์การยูเนสโกยกย่องให้สถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกเมื่อ พ.ศ.2542





ป้อมซานติเอโก (Fort Santiago)

          เคยเป็นด่านแรกที่ใช้ในการป้องกันการโจมตีจากข้าศึก โดยเฉพาะข้าศึกที่เข้ามาทางปากแม่น้ำปาซิกและอ่าวมะนิลา แต่ก็ถูกกองทัพสหรัฐฯ ทำลาย ซึ่งต่อมาก็มีการบูรณะซ่อมแซมให้เป็น “ปูชนียสถานแห่งเสรีภาพ (Shrine of Freedom)

ของซื้อของฝาก



มะม่วง ของฝากที่นิยมมากที่สุด
       อย่าไปคาดหวังอะไรมากนักกับการมาเที่ยวที่นี่ แต่ถ้าจะซื้อของติดไม้ติดมือไปฝากคุณผบ.ที่รักแล้วล่ะก็ ซื้อมะม่วงอบแห้งไปน่ะดีที่สุดแล้ว เพราะคุณภาพส่งออกเค้าแน่จริง นอกจากมะม่วงแล้วที่นี่ยังมีฝรั่งอบแห้ง มะละกออบแห้ง แต่ความดังก็ยังไม่เท่ามะม่วง


พัดแบบสเปนอันขึ้นชื่อของฟิลิปปินส์

       ด้านงานหัตถกรรมทำมือที่สวยงามก็จะมีพัดแบบสเปน คนที่นี่ไม่ว่าหญิงหรือชายต่างพกพัดกันทั้งนั้นเพราะอากาศร้อนอบอ้าว



ผ้าเช็ดหน้าผลิตจากใยสับปะรด

       อีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ขึ้นชื่อคือผ้าใยสับปะรด ซึ่งราคาสูงมากเมื่อนำมาผลิตเป็นเสื้อ ผ้าคลุมเตียง ผ้าปูโต๊ะ ผ้ารองแก้ว ผ้าเช็ดหน้า สนนราคาเมื่อเป็นผ้าคลุมเตียงจะราวๆ หมื่นกว่าๆ หากเป็นผ้าปูโต๊ะก็แปดพัน เป็นเสื้อเชิ้ตก็จะตัวละสองพันกว่าบาทเค้าบอกว่าเป็นงานฝีมือจริงๆ ราคาจึงสูงมาก ด้านงานแกะสลักไม้ก็สวยงาม แต่เนื้องานจะคล้ายภาคเหนือบ้านเรา และมีกระเป๋าผ้าปักที่ทำในมินดาเนานั่นก็ขึ้นชื่อเหมือนกัน


ข้อควรระวัง
1. เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์ประชากรเยอะมาก เพราะขาดการคุมกำเนิด เค้าว่าผิดหลักศาสนานิกายคาทอลิก ก็เลยมีลูกหลานยั้วเยี้ยเต็มไปหมด อีกทั้งช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนสูงมาก ทำให้มีขอทานและมิจฉาชีพค่อนข้างเยอะ

       อย่าใส่เครื่องประดับของมีค่า และอย่าสะพายกล้องตัวใหญ่ไว้ด้านนอก เพราะขณะถ่ายรูปเราจะไม่มีทางรู้ได้เลยว่าใครคือคนร้ายที่อยู่รอบตัวเรา หากเดินไปในที่ชุมชนให้ระมัดระวังกระเป๋าสตางค์และกระเป๋าสะพาย ให้กอดกระเป๋าตัวเองให้แน่น อีกทั้งถ้าจะเดินไปไหนมาไหนตอนดึกๆ ไม่แนะนำให้เดินคนเดียว โดยเฉพาะตามที่เปลี่ยว เพราะคนไร้บ้านค่อนข้างเยอะ

       รวมไปถึงอย่าไปดื่มน้ำผลไม้บางที่ที่ขายใส่แก้ว เพราะอาจโดนวางยาได้ ให้ซื้อน้ำดื่มจากในร้านค้าสะดวกซื้อจะดีกว่า

2. อีกเรื่องที่สำคัญสำหรับคนเป็นโรคแพ้อากาศแพ้ฝุ่น ที่กรุงมะนิลาจะเต็มไปด้วยมลพิษและฝุ่นละอองจากรถยนต์ เนื่องจากการจราจรติดขัดมากกว่ากรุงเทพฯ และมีจำนวนรถบนท้องถนนมากกว่า แนะนำให้ใส่หน้ากากอนามัย จะได้ป้องกันทั้งฝุ่นมลพิษ และเชื้อโรคไข้หวัดได้ด้วย


3. การใช้บริการรถสาธารณะโดยเฉพาะรถแท็กซี่ หากเห็นเป็นนักท่องเที่ยว เค้ามักจะไม่ค่อยกดมิเตอร์ แต่จะเสนอราคามาค่อนข้างสูง ให้ปฏิเสธไปเลยและพยามยามเลือกคันที่จะกดมิเตอร์  นอกจากนี้ควรรู้จักถนนหนทางที่ตนจะไปด้วย ควรระบุพิกัดให้เรียบร้อยว่าแถวนั้นมีอะไรหรืออยู่ใกล้ที่ไหน  ไม่เช่นนั้นแท็กซี่จะพาคุณอ้อมเพื่อให้มิเตอร์ขึ้นสูง และเมืองหลวงมะนิลานั้นใหญ่โตมาก คนขับแท็กซี่เค้าไม่รู้จักทุกซอกทุกมุมของมะนิลาหรอกนะ

เทศกาล Dinagyang Festival ประเทศฟิลิปปินส์




       Dinagyang Festival เป็นเทศกาลทางศาสนาและวัฒนธรรมของเมือง Lloilo เทศกาลนี้ได้รับการโหวตว่าเป็นเทศกาลที่น่ามาท่องเที่ยวที่สุดประจำปี 2006, 2007 และ 2008 โดยการท่องเที่ยวของประเทศฟิลิปปินส์ และยังเป็นเทศกาลแรกของโลกที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและภาคเอกชน





       Dinagyang Festival เป็นเทศกาลทางศาสนาและวัฒนธรรมของเมือง Lloilo ประเทศฟิลิปปินส์ โดยจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงอาทิตย์ที่สี่ของเดือนมกราคม เพื่อเฉลิมฉลองและเป็นเกียรติให้กับ  Santo Niño
       





       ภายในเทศกาลจะมีการเดินขบวนพาเหรดของชนเผ่า Ati มีการเต้นรำเฉลิมฉลองโดยแต่งกายด้วยวัสดุที่หาได้ตามธรรมชาติ ที่มีความสวยงามและแปลกตา ตามสีสัน ซึ่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแตกต่างกันไป ตกแต่งหน้าตาด้วยสีที่มาจากธรรมชาติ ดูสวยงามและน่าเกรงขามไปพร้อมๆกัน และเต้นรำไปกับดนตรีที่มีเอกลักษณ์ประจำเผ่า

สาระน่ารู้เกี่ยวกับประเทศฟิลิปปินส์และประเทศไทย




1. ประเทศฟิลิปปินส์เล็กกว่าประเทศไทย 2.5 เท่า แต่มีประชากรมากกว่าไทยเรา ราวๆ 82 ล้านคน
2. มีเกาะเยอะที่สุดในโลก บางคนอาจจะเถียงว่าเป็น อินโดนีเซีย
3. ประเทศฟิลิปปินส์ยากจน
4. สภาพบ้านเมืองก็ไม่สวยงาม ไม่สะอาดตา
5. ที่กรุง "มะนิลา" เป็นเมืองหลวงที่มี "สลัม" เยอะอันดับต้นๆของโลก
6. ย่านธุรกิจ Quiapo วุ่นวายมาก
7. จากข้อ 6 มีสลัมที่พวกลักเล็กขโขยน้อยเยอะด้วย
8. คนที่เมืองหลวง มะนิลา จะอาศัยอยู่ตาม อพาร์ตเม้นต์เป็นหลัก
9. แต่...อพาร์ตเม้นต์เหล่านั้นก็มักรกรุงรัง ไม่สะอาด เสียงดัง และคับแคบราวยังกะรังหนู
10. ฟิลิปปินส์มีความห่างของฐานะเยอะมาก คนรวยอักโข คนจน จนมากมาย
11. คนฟิลิปปินส์ไม่มีศูนย์รวมใจ เมื่อมีเหตุการณ์รุนแรง รัฐบาลจะใช้กำลังปราบปรามอย่างรุนแรงถึงเลือดเนื้อโดยไม่แคร์ชีวิตประชาชน
12. คนฟิลิปปินส์บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักเหมือนคนไทย แต่ก็ปลูกได้น้อย จึงต้องทำนาแบบขั้นบันได
13. ในเมืองไทยหากวิกฤตข้าวแพงขึ้นราคายังไม่สาหัสอะไร แต่หากเป็นฟิลิปปินส์จะเดือดร้อนอย่างมากเลยทีเดียว
14. จนต้องนำเข้าหักๆ มาหุงเพื่อรับประทานกัน
15. ข้าวหักๆ คือข้าวคุณภาพต่ำที่คนไทยนำไปหุงเลี้ยงหมานั่นแหละ
16. "แกง" ของฟิลิปปินส์นิยมตำข้าวลงไปเป็นส่วนผสมหนึ่งด้วย น้ำแกงจะได้ข้นๆ
17. พระเจ้า! คนฟิลิปปินส์ไม่มีมะนาวนะคะ มีแต่ส้มจี๊ด เค้าเรียกมันว่า กาละมังซี่ ไม่เปรี้ยวเท่าไหร่ และไม่หอมด้วย
18. สิ่งที่เถียงไม่ได้ คือ คนฟิลิปปินส์รูปร่างหน้าตาเหมือนคนไทยมากจริงๆ
19. แต่ คนฟิลิปปินส์ผิวจะคล้าเกรียมว่าคนไทย เพราะเป็นประเทศที่เป็นหมู่เกาะ อิทธิพลทางทะเลเต็มที่
20. คนฟิลิปปินส์เหมาะมากกับความเป็นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพราะผิวสีน้ำตาลจะดูดีมากกว่าผิวขาวๆ ดังนั้น คนฟิลิปปินส์จึงใส่เสื้อเกาะอก สายเดี่ยว หรือ ผู้ชาย ใส่เสื้อกล้าม จะดูเหมาะ และดูดี
21. ชาวฟิลิปปินส์มีสไตล์ลูกครึ่งเยอะมาก หลายชาติเสียด้วย ประกอบกับในอดีตเคยเป็นประเทศอาณานิคมของทั้ง สเปน อังกฤษ อเมริกัน ฝรั่งเศส
       เราพบว่าคนฟิลิปปินส์หน้าเหมือนคนไทยแล้ว จำนวนมากมีหน้าตาผิวพรรณแบบฝรั่ง ตะวันตกเป๊ะ หรือบางส่วนหน้าตาแบบแขกๆก็มีอยู่มาก ทั้งความเป็นปินอยด์มีเชื้อทางอินโดมาผสมทางตอนใต้และทางจีนทางเกาะไต้หวันผสมในตอนเหนือ
       จึงไม่แปลกที่หลายคนมองว่านายแบบและนักแสดงชายฟิลิปปินส์นั้นดูหล่อเข้มกว่าไทย สังเกตุดีๆ นายแบบ นักแสดงชาย ของฟิลิปปินส์มองลึกๆที่นัยน์ตา มองภาพรวมของใบหน้าหันซ้ายหันขวาจะดูอมๆ จะปินอยด์ก็ไม่ใช่ จะหน้าตะวันตกก็ไม่เชิง
22. สาวฟิลิปปินส์มองว่า สาวไทย นั้น "สวย" แต่ สาวฟิลิปปินส์เอง "ไม่สวย"
23. แต่ความ sexy เค้ามองว่า สาวปินอยด์ "Sexy" แต่ สาวไทย "ไม่ Sexy"
24. ลูกค้าชาวฟิลิปปินส์ในไทยมักซื้อของและต่อรองราคาอย่างน่ารำคาญและและโคตรน่าเบื่อจนเคยตัว
25. แต่นิสัยของคนฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่จะเป็นมิตร ภาษาอังกฤษดี ชอบทำตัวสบายๆ และผูกมิตรกับคนอื่นได้ง่าย
 24. แต่ข้อเสียก็มี คนฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ชอบนินทา ไม่ชอบเห็นคนอื่นดีกว่าตัวเอง
25. ประเทศฟิลิปปินส์อาจไม่น่าอยู่น่าชื่นชมนักสำหรับคนไทย คอรัปชั่นเยอะ พวกลักเล็กขโมยน้อยก็เยอะด้วย เพราะเค้ายากจน ระวังไว้
26. ทะเล ชายหาด รีสอร์ทของฟิลิปปินส์สวยงามไม่แพ้เมืองไทยเลย
27. ตามชนบทบ้านนอกก็มีทุ่งนา  ต้นไม้ เหมือนกับไทย แต่...มีภูเขาไฟตั้งเด่นอย่างน่าเกรงขาม
28. จากการพูดคุยกับชาวฟิลิปปินส์ (รวมถึงนั่งดูรายการทีวีและฟังจากสถานีวิทยุ) ทราบว่า ปัจจุบัน ชาวฟิลิปปินส์ มีการใช้ภาษาที่เรียกว่า ทากรีส (Tagalog + English) คือพูดตากาล็อกคำอังกฤษคำ ผสมกันไปในประโยคสนทนา แต่เป็นที่เข้าใจกันในหมู่ของประชาชน แม้แต่ในรายการทีวีและรายการวิทยุ
29. คนฟิลิปปินส์สามารถพูดภาษาอังกฤษได้ดี ก็เพราะค่านิยม
30. ใครสามารถพูดภาษาอังกฤษได้เขาจะยกให้เป็นพลเมืองชั้นหนึ่ง แต่ถ้าใครพูดอังกฤษไม่ได้แต่พูดกาตาล้อคได้ก็จะถูกถีบให้ไปเป็นพลเมืองชั้นสอง แต่ถ้าพูดไม่ได้ทั้งอังกฤษและกาตาล้อคจะกลายเป็นพลเมืองชั้นสามไปเลย เขาแบ่งกันอย่างนี้จริงๆ
31. ภาษาอังกฤษสำหรับคนไทยเราก็ถือว่าเป็นเพียงเครื่องมือการสื่อสารเท่านั้น ใครพูดได้ก็ดี พูดไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ไม่เสียหายอะไรมากเพราะประเทศเราไม่มีความจำเป็นใดใดที่จะต้องใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารระหว่างคนในชาติ
32. แต่สำหรับคนฟิลิปปินส์ภาษาอังกฤษเป็นยิ่งกว่าเครื่องมือการสื่อสาร เพราะมันหมายถึงการได้รับการศึกษาที่ดีและที่สำคัญที่สุดคือ การมีโอกาสได้ไปทำงานต่างประเทศ
33. ด้วยค่านิยมและสภาพการณ์ที่บีบบังคับแบบนี้ทำให้คนฟิลิปปินส์ต้องขวนขวายหาทางเรียนภาษาอังกฤษ ฝึกพูดภาษาอังกฤษให้คล่องที่สุดเพื่อชีวิตที่ดีกว่าของตัวเองและครอบครัว
35. คนฟิลิปปินส์ร้อยละ 90 อยากออกไปทำงานที่ต่างประเทศเพื่อต้องการหลุดพ้นจากขุมนรกในประเทศตัวเอง
36.  เพราะพวกเค้าอยากอพยพออกจากประเทศตัวเองเพื่อไปอยู่ประเทศอื่น เพื่อมีชีวิตที่ดีกว่า มีเงินเดือนที่ดีกว่า
37. จึงมีคนฟิลิปปินส์อยู่ต่างประเทศมากมายเต็มไปหมด
38. มีชาวฟิลิปปินส์อยู่ในฮ่องกงราวๆ สามแสนคน
39. แต่ชาวฮ่องกงมีทัศนคติด้านลบต่อชาวฟิลิปปินส์นานกว่า 10 ปี เพราะที่ผ่านมาคนฟิลิปปินส์ไปเป็นคนรับใช้หรือเป็นแม่บ้านให้เค้าเป็นจำนวนมาก (ขี้ข้านั่นแหละ)
40. ในเมืองไทยก็มีชุมชนชาวฟิลิปปินส์ พวกนั้นมาอยู่โดยการเป็นครูสอนภาษา และพวกนักแสดงและนักกายกรรม
41. หากเป็นไปได้ชาวฟิลิปปินส์อยากได้สัญชาติของประเทศที่ตัวเองไปอยู่เลยทีเดียว เพื่อจะได้ไม่ต้องกลับไปที่บ้านเกิดเมืองนอนอีก
42. คนไทยหลายๆคน ไม่ชอบคนฟิลิปปินส์ในหลายๆเรื่อง
43. เรื่องที่เราคนไทยไม่ชอบคนฟิลิปปินส์ มาจากสภาพแวดล้อมของเค้าที่เป็นอย่างนั้น พวกเค้ายากจน บ้านเมืองมีปัญหามากกว่าไทย
44. แต่กระนั้น คนดีๆในฟิลิปปินส์ก็พอจะมีอยู่เช่นกัน ดังนั้นหากเราเจอเรื่องร้ายๆ แย่ๆ จากการไปอยู่ในฟิลิปปินส์หรือจากคนฟิลิปปินส์ที่อยู่ในไทย มองโลกสองด้านไว้ อย่าเหมารวมคิดว่าคนฟิลิปปินส์สันดานเหมือนกันไปหมดทุกคน...

ข้อมูลทั่วไปของประเทศฟิลิปปินส์





       ประเทศฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 7,100 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิค ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของเกาะบอร์เนียว และอยู่ทางใต้ของเกาะไต้หวัน หมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่ห่างจากผืนแผ่นดินใหญ่ ของทวีปเอเซียประมาณ 970 กิโลเมตร

       หมู่เกาะต่าง ๆ ของฟิลิปปินส์มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร มีเกาะใหญ่ 11 เกาะ ซึ่งมีพื้นที่รวมกันเท่ากับร้อยละ 90 ของพื้นที่ทั้งหมด เกาะต่าง ๆ ได้มีการตั้งชื่อแล้วไม่ถึงครึ่งของจำนวนเกาะทั้งหมด มีคนอยู่อาศัยบนเกาะต่าง ๆ เพียงประมาณ 900 เกาะ เกาะที่ใหญ่ที่สุดคือ เกาะลูซอน อยู่ทางเหนือ และเกาะมินดาเนา ที่อยู่ทางใต้

       เกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์ ถ้าวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ จะมีความยาวประมาณ 1,850 กิโลเมตร ถ้าวัดจากทิศตะวันออก ถึงทิศตะวันตก จะมีความยาวประมาณ 1,100 กิโลเมตร เกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์แบ่งออกเป็น 3 หมู่คือ

       หมู่เหนือ ประกอบด้วย สองเกาะใหญ่ ๆ คือ เกาะลูซอน (Luzon) และเกาะมินโดโร (Mindoro)
หมู่กลาง เรียกว่า Visa yas ประกอบด้วยเกาะต่างๆ ประมาณ 7,000 เกาะ

       หมู่เกาะใต้ ประกอบด้วย เกาะมินดาเนา (Mindanao) และ Sulu Archipa lago หมายถึง หมู่เกาะต่าง ๆ ประมาณ 400 เกาะ ซึ่งอยู่เรียงรายทางใต้ของเกาะมินดาเนา ไปจนถึงทางทิศตะวันตกของเกาะบอร์เนียว
เกาะต่างๆ ของฟิลิปปินส์ ที่มีพื้นที่ 1 ตารางไมล์ หรือมากกว่าเล็กน้อยมีอยู่ไม่ถึง 500 เกาะ ตลอดชายฝั่งทะเลมีอ่าวเล็ก อ่าวใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแนวฝั่งที่ยาว กว่าแนวฝั่งของประเทศสหรัฐอเมริกา นอกฝั่งตะวันออกของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ มีร่องลึกมินดาเนา ซึ่งเป็นทะเลที่มีความลึกมากที่สุดแห่งหนึ่ง ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ คือ มีความลึกมากกว่า 10,400 เมตร

ภูเขาและเทือกเขา 
       เทือกเขาบนหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกภูเขาไฟ ที่ตั้งรายล้อมเป็นวงกลม ในมหาสมุทรแปซิฟิค มีแม่น้ำและทะเลสาบ อยู่เป็นจำนวนมาก อยู่ระหว่างช่องเขา ภูเขาที่สูงที่สุดในฟิลิปปินส์คือ ภูเขาอาโป (Apo) มีความสูงถึง 2,950 เมตร จากระดับน้ำทะเล ตั้งอยู่บนเกาะมินดาเนา

        ฟิลิปปินส์มีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับอีก 50 แห่ง และมีภูเขาหินปูนอยู่กระจัดกระจาย ตามบริเวณเกาะต่างๆ และยิ่งไปกว่านั้น เกาะฟิลิปปินส์ ยังตั้งอยู่ในแนวแผ่นดินไหวของโลกอีกด้วย จึงเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นบ่อยๆ

ที่ราบระหว่างเนินเขาต่างๆ
       มีดินที่อุดมสมบูรณ์ดี เพราะได้ปุ๋ยจากเถ้าถ่านภูเขาไฟ เหมาะแก่การเพาะปลูก

แม่น้ำสำคัญ
       แม่น้ำในฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่ มีขนาดเล็กๆ และสั้นคล้ายญี่ปุ่น และมีอยู่เป็นจำนวนมาก แม่น้ำใหญ่ๆ มีอยู่ไม่กี่สาย แม่น้ำสายใหญ่ๆ บางสายใช้เป็นเส้นทางเดินเรือกลไฟ และเรืออื่นๆ แม่น้ำที่สำคัญของฟิลิปปินส์คือ

       แม่น้ำคากายัน (Cagayan) อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียเหนือของเกาะลูซอน เป็นแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ มีความยาวประมาณ 320 กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้ ให้น้ำสำหรับพื้นที่เกษตรกรรม ประมาณ 16,00 ตารางไมล์

       แม่น้ำอักโน (Agno) เป็นแม่น้ำที่ไหลอยู่ตามบริเวณเทือกเขาตอนกลางของเกาะลูซอน
แม่น้ำปามปันกา (Pampanga) เป็นแม่น้ำที่ไหลผ่านพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ทางภาคเหนือ และภาคกลางของเกาะลูซอน แล้ไปออกทะเลทางเหนือสุดของอ่าวมนิลา

       แม่น้ำปาสิก (Pasig) แม่น้ำนี้มีความสำคัญเนื่องจากบนปากแม่น้ำสายนี้ เป็นที่ตั้งของกรุงมนิลา ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า และเป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของฟิลิปปินส์ เป็นทางระบายน้ำของทะเลสาบน้ำจืด ลากูนา เดอ เบย์ (Laguna de bay) นอกจากนั้นยังเป็นเส้นทางการค้าของเรือกลไฟที่ขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงมนิลา กับบริเวณที่อุดมสมบูรณ์บนฝั่งทะเลสาบ

       แม่น้ำมินดาเนา เป็นแม่น้ำสำคัญบนเกาะมินดาเนา

ประชากร 
       ชาวเกาะฟิลิปปินส์ ปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาคล้ายพวกมองโกล ผสมผสาน มีผิวสีน้ำตาล แต่บางพวกก็มีผิวค่อนข้างขาว การที่ชาวฟิลิปปินส์มีลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นผล สืบเนื่องมาจากความซับซ้อนของเผ่าพันธุ์ อันเกิดจากการผสมผสาน ระหว่างเชื้อชาติต่างๆ คือ

ชนเผ่าดั้งเดิม
       ตามตำนานของฟิลิปปินส์ กล่าวว่าประชาชนของตนเกิดมาจากปล้องไม้ไผ่ แต่ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดียืนยันว่า มีมนุษย์ดึกดำบรรพ์อย่างเช่น มนุษย์ชวา (Java man) อาศัยอยู่ตามหมู่เกาะฟิลิปปินส์มาตั้งแต่สมัยน้ำแข็ง (Ice Age) มีลักษณะสมองเล็ก หน้าผากแคบลาดต่ำ มีความสูงประมาณ 4-5 ฟุต ผิวเนื้อดำแดง ผมหยิก ซึ่งเรียกกันว่า คนแคระ (Pigmy) ซึ่งปัจจุบันเกือบจะสูญพันธุ์หมดแล้ว คนพวกนี้คือ บรรพบุรุษของชาวอีต้าส์ (Aetas)

เผ่าอินโดเนเซีย
       ระหว่าง 5,000 - 6,000 ปี มาแล้ว เมื่อยุคน้ำแข็งปกคลุมโลก เริ่มละลายแผ่นดินที่เชื่อมหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และทวีปเอเชีย จมหายไปในทะเล ในยุคนี้มีชาวอินโดเนเซีย จากเอเซียอาคเนย์ เดินทางเข้าไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์โดยทางเรือ พวกนี้รูปร่างค่อนข้างสูง ผิวไม่ดำนัก และริมฝีปากบาง รู้จักการใช้หินขัดทำขวาน สิ่ว และเครื่องมือที่ทำด้วยไม้ นักมานุษยวิทยาได้จัดแบ่งคนกลุ่มนี้ไว้ ในกลุ่มชาวอินโดเนเซีย เอ (A) และผู้ที่สืบทอดจากชนกลุ่มนี้ ได้กลายมาเป็นประชากรฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 12 ของจำนวนประชากรทั้งหมด
       ในช่วงระยะเวลา 1,500 - 1,300 ปีก่อนคริสกาล มีชาวผิวดำ จมูกโตแบน จากอินโดเนเซีย และภาคใต้ของจีน เดินทางมาอยู่ในฟิลิปปินส์ ต่อมาชนกลุ่มนี้ก็กลายเป็นชนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยละ 18 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ชนกลุ่มนี้รู้จักการสร้างบ้าน หลัวคาทรงปิรามิด การทำนา บนที่ดอน และการคิดทำเครื่องมือช่วยในการทำนา ซึ่งทำด้วยหินชนิดแข็ง นักมานุษยวิทยาได้จัดคนพวกนี้เข้ากลุ่ม ชาวอินโดนีเซีย บี (B)

       ต่อมาประมาณ 800 ปีก่อนคริสตกาล มีประชากรที่มีวัฒนธรรมสูง รู้จักใช้โลหะบรอนซ์ - ทองแดง (Bronze - Copper Culture) ได้นำเอาความรู้เรื่องการชลประทาน เพื่อการปลูกข้าวมาเผยแพร่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ด้วย ในปัจจุบัน คนที่สืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ มีอยู่ประมาณร้อยละ 3 ของประชากรทั้งหมด คนกลุ่มนี้ถูกจัดไว้ในกลุ่มชาวอินโดนีเซียบี

ชาวมาเลย์
       มีลักษณะแบบชาวมองโกลอยด์ คือมีความสูงปานกลาง ค่อนข้างผอม แต่แข็งแรง จมูกแบน ผมดำตาสีน้ำตาล ผิวสีน้ำตาล ได้เดินทางมาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลังพวกอินโดนีเซีย ชาวมาเลย์ได้พากันอพยพเข้ามาอยู่ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์ 3 ครั้งด้วยกันคือ

       ครั้งแรก เข้าไปเมื่อประมาณ 300 - 200 ปีก่อนคริสตศักราช โดยเดินทางมาในเรือลำเล็ก มาขึ้นที่เกาะลูซอน และเกาะมินดาเนา คนกลุ่มนี้รู้จักการทำชลประทานเพื่อการปลูกข้าว ประเพณีของชนกลุ่มนี้คือการล่าหัวมนุษย์ ชาวฟิลิปปินส์ปัจจุบันสืบเชื้อสายมาจากคนกลุ่มนี้ สันนิษฐานว่าคือชาวอีฟูเกา (Ifugaos) ซึ่งอยู่ตามบริเวณเทือกเขาของภาคเหนือของเกาะลูซอน

       ครั้งที่สอง เข้ามาประมาณคริสตศตวรรษที่ 1 ติดต่อเรื่อยมาจนถึงศตวรรษที่ 9 ซึ่งในขณะนั้นพ่อค้าชาวอาหรับและชาวจีน ทำการค้าขายอยู่ในเอเซียอาคเนย์ อย่างกว้างขวาง มีเส้นทางการค้าที่เชื่อมระหว่างจีน ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ บอร์เนียว และมะลักกา ชาวมาเลย์ที่อพยพเข้ามาอยู่ในฟิลิปปินส์ครั้งที่สอง นี้มีวัฒนธรรมสูงมาก แข่งกับกลุ่มชาวจีน คือมีภาษาเขียนแบบของตนเอง ผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากกลุ่มนี้ได้กลายมาเป็นประชากรส่วนใหญ่ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบันซึ่งรวมถึงชาวตากาลอก (Tagalogs) อิโลคาโน (Ilocanos) บิคอลส์ (Bikols) วิสายัน (Visayans) และปามปันกา (Pampangans) อยู่ด้วย

       ครั้งที่สาม เข้ามาระหว่างปี พ.ศ.1893 - 1993 คนมาเลย์ที่อพยพเข้ามากลุ่มนี้นับถือศาสนาอิสลาม เป็นต้นตระกูล ของชาวฟิลิปปินส์ที่นับถือศาสนาอิสลามในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี ชาวมาเลย์กลุ่มนี้ไม่ได้นับถือศาสนาอิสลามมาก่อน แต่ที่มานับถือ เนื่องมาจากราชามากินดา (Rajah Baguinda) ของซูลู และชาริฟมูฮัมเหม็ด กาบัง สุโรน (Sharit Muhammed Kabangsuroan) มาจากยะโฮร์ (Jahore) และต่อมาเป็นสุลต่านคนแรกของเกาะมินดาเนา นำเอาศาสนาอิสลามมาเผยแพร่ ในขณะที่พวกที่สืบเชื้อสายมาจากชาวมาเลย์ที่เข้ามาครั้งที่สอง หันไปนับถือศาสนาคริสต์ และใช้วัฒนธรรมแบบตะวันตก ซึ่งพวกสเปนนำไปเผยแพร่

ชาวจีน
       ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชาวจีนเริ่มเข้าไปตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 11 โดยเริ่มจากการไปติดต่อค้าขายกับชาวหมู่เกาะ และได้อพยพไปตั้งบ้านเรือนและกลายเป็นชาวเกาะไป

       ประเทศไทยในสมัยสุโขทัยก็เคยติดต่อค้าขายกับหมู่เกาะฟิลิปปินส์ หลักฐานที่พบคือได้มีผู้ขุดพบเครื่องสังคโลก ในหมู่เกาะเชาตาควน (Chao Ta-kuan)

       นักเดินทางชาวจีนในคริสตศตวรรษที่ 10 ได้บันทึกไว้ว่า พ่อค้าชาวต่างประเทศได้นำเครื่องลายคราม ทองคำ แจกัน ทำด้วยเหล็ก เครื่องแก้ว ไข่มุก ผ้าไหม เป็นต้น ไปขายให้หมู่เกาะ และชาวเกาะได้ส่งฝ้าย และสิ่งของที่ทำด้วยปอมนิลา และมะพร้าว เป็นต้น ออกไปขายในต่างประเทศเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกัน

สเปน
       สเปนสนใจหมู่เกาะฟิลิปปินส์ตั้งแต่เฟอร์ดินานด์ แมกเจลแลน (Ferdinana Magellan) ได้เดินเรือมาถึงเกาะเซบู (Cebu) เพื่อแสวงหาเครื่องเทศ ชาวสเปนที่ติดตามมา เรียกหมู่เกาะฟิลิปปินส์ว่า หมู่เกาะตะวันตก (Western Island) แมกเจลแลนได้เปลี่ยนชื่อหมู่เกาะเป็นชื่อ เซนต์ ลาซารัส (Saint Lazarus) แมกเจลแลนถูกฆ่าตายในการรบ ระหว่างชาวเกาะผู้ติดตามมาในขบวนเรือของเขา ได้คุมเรือกลับไปถึงสเปน เมื่อปี ค.ศ.1522 ชาวสเปนจึงได้ทราบเรื่องราวเกี่ยวกับหมู่เกาะนี้

       ต่อมาในปี พ.ศ.1543 ชาวสเปน คนหนึ่งได้ให้ชื่อหมู่เกาะเสียใหม่ว่า เฟลิปปินา (Felipina) ต่อมาเปลี่ยนเป็น Philippine เพื่อเฉลิมพระเกียรติแก่เจ้าชายฟิลิป รัชทายาทแห่งสเปญ ชาวปอร์ตุเกส อ้างว่าหมู่เกาะฟิลิปปนส์เป็นของตน แต่สเปญไม่ยอม ในที่สุดเมื่อปี ค.ศ.1529 ทั้งสองประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาชื่อเซรากอสชา (Seragossa) โดยมีสาระสำคัญคือ

       สเปนยอมสละข้อเรียกร้องของตน เกี่ยวกับเกาะโมลัคคัส (Moluccas) และได้รับเงินจำนวน 350,000 ดูคัท (Ducat ) เป็นการตอบแทน

       เส้นแบ่งเขตโลกตะวันออก ได้ขยายออกไปทางทิศตะวันออกของเกาะโมลัคคัส เป็นระยะ 297 1/2 ลีค (Leagues - ประมาณ 900 ไมล์)

       ต่อมาเจ้าชายฟิลิป ได้ครองสเปน เมื่อ ค.ศ.1556 พระองค์สนพระทัย จะได้หมู่เกาะฟิลิปปินส์มาเป็นอาณานิคม จึงให้อุปราชสเปญประจำเมกซิโก เตรียมการจะยกทัพเรือไปยึดหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ต่อมาเมื่อปี ค.ศ.1564 ได้มีผู้คุมกองเรือสเปญมุ่งไปยังหมู่เกาะฟิลิปปินส์ ขบวนเรือแล่นได้ถึงเกาะเซบู ปรากฎว่าชาวเมืองแสดงตนไม่เป็นมิตรต่อสเปญ ชาวปอตุเกสก็คอยรบกวนสเปนอยู่เสมอ

       ต่อมาในปี ค.ศ.1570 กองเรือสเปญดังกล่าวได้เข้าตีเมืองมนิลา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ของพวกโมโร (Moro) อยู่ในเกาะลูซอน อยู่ในการปกครองของ ราชา โซลิมัน (Rajah Soliman) เมื่อตีได้เมืองมนิลาแล้วก็ได้ประกาศตั้งเมืองมนิลาเป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เมื่อปี ค.ศ.1571 (พ.ศ.2114) หมู่เกาะฟิลิปปินส์ จึงตกเป็นของสเปญตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แต่ปรากฎว่าหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไม่อุดมด้วยเครื่องเทศ รัฐบาลสเปญได้ส่งเสริมให้เผยแพร่คริสศาสนานิกายโรมันคาธอลิค คริสตศาสนานิกายนี้จึงได้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของหมู่เกาะ เนื่องจากศาสนาอิสลาม มีผู้นับถืออยู่มากในภาคใต้ของหมู่เกาะ

       สเปนได้ตั้งผู้สำเร็จราชการมาประจำหมู่เกาะ ภายหลังงปี ค.ศ.1581 สันตปาปาได้ตั้งมนิลาเป็นศูนย์กลางของคณะบาดหลวง โดยตั้งอารต์ปิชอบ (Arch bishop) เป็นประมุข

       ปอร์ตุเกส ได้พยายามขับไล่สเปญให้ออกไปจากฟิลิปปินส์ โดยในปี ค.ศ.1570 ได้ยกขบวนเรือเข้าไปในท่าเรือเมืองเซอูล และบังคับให้สเปญรื้อป้อมที่เมืองนั้น แต่ชาวสเปญสู้รบอย่างเข้มแข็ง ในที่สุดกองเรือปอร์ตุเกสต้องล่าถอยกลับไป

ฮอลันดา
       ฮอลันดาได้ไปตั้งมั่นอยู่ในชวา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปัตตาเวีย (Batavia) ได้ตั้งบริษัทอินเดียตะวันออกขึ้น และบริษัทนี้ ได้ขยายตังออกไปปกครองหมู่เกาะใกล้เคียง ในระยะ 50 ปีแรกของคริสตศตวรรษที่ 17 ฮอลันดาได้ปะทะกับสเปญหลายครั้ง และเมื่อปี ค.ศ.1647 ได้ปะทะกันที่แหลมบาแทน (Bataan) ใกล้มนิลา ปรากฎว่า ฮอลันดาพ่ายแพ้ยับเยินไม่กล้าไปรบกวนสเปญ ในหมู่เกาะฟิลิปปินส์อีกต่อไป
อังกฤษ สเปญปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อย่างกดขี่ชาวพื้นเมือง

       ชาวพื้นเมืองที่ต้องการหลบอำนาจของสเปญ ก็มักจะไปเข้ารีตนับถือศาสนาคริสต์ เพื่อขอความคุ้มครองจากบาดหลวง ประชาชนต้องจ่ายค่าส่วยสาอากร และถูกเกณฑ์แรงงาน จึงได้ก่อการกบฎต่อสเปญหลายครั้ง เช่นในคริสตศตวรรษที่ 17 มีถึง 13 ครั้ง แต่สเปญสามารถปราบปรามได้  ในตอนปลายสงครามเจ็ดปี (ค.ศ.1756 - 1763) กองทัพเรืออังกฤษได้เข้าโจมตีหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และยกพลขึ้นบกที่เมืองมนิลา และยึดเมืองไว้ได้ แล้วกระจายกำลังไปยึดครองภาคอื่น ๆ ของหมู่เกาะ อังกฤษยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์อยู่สองปี ก็ยุติลงด้วยสนธิสัญญาปารีส (ค.ศ.1763) อังกฤษถอนตัวออก เมื่อปี ค.ศ.1764 สเปญก็กลับเข้าปกครองหมู่เกาะตามเดิม

สหรัฐอเมริกา
       ในปี ค.ศ.1895 ได้เกิดกบฎในคิวบา ที่สเปญปกครองอยู่ สหรัฐเข้าข้างพวกกบฎ สเปญได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐเมื่อปี ค.ศ.1898 กองเรือสหรัฐอเมริกาประจำน่านน้ำตะวันออก ได้นำกำลังไปยังน่านน้ำมนิลา เกิดการปะทะกับกองเรือสเปญ ผลจากการปะทะกัน สเปญยอมแพ้สหรัฐ ฯ ทั้งในฟิลิปปินส์และในคิวบา ยอมสงบศึกโดยทำสนธิสัญญาปารีส 1898 (Paris threaty 1898) ว่าสเปญมอบอิสระภาพให้คิวบา ให้คิวบาเป็นประเทศอิสระ

       ภายใต้การคุ้มครองของสหรัฐฯ มีฐานะเป็นรัฐลูกค้า (Client State) และสเปญโอน เปอร์โต ริโก (Puerto Rico) กับฟิลิปปินส์ให้สหรัฐ ฯ ส่วนสหรัฐฯ ยอมจ่ายเงิน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้แก่สเปญ
ในการปกครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกาได้ดำเนินการเพื่อให้หมู่เกาะได้เอกราชในที่สุด ต่อมาในปี ค.ศ.1916 ได้ประกาศรัฐบัญญัติชื่อว่า Jones Act โดยมีความมุ่งหมายที่จะเพิกถอนอำนาจอธิปไตยของตน ออกจากหมู่เกาะฟิลิปปินส์

       ต่อมาในปี ค.ศ.1934 ได้มีการตรารัฐบัญญัติกำหนดระยะเวลาที่จะให้เอกราชกับหมู่เกาะ ในปี ค.ศ.1935 ฟิลิปปินส์ได้ตรารัฐธรรมนูญขึ้น ตั้งหมู่เกาะฟิลิปปินส์เป็นวงไพบูลย์ร่วมกัน (Common Wealth) มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แต่ยังคงปกครองภายใต้การควบคุมของข้าหลวงใหญ่สหรัฐ ฯ

ภาษา
       จากความซับซ้อนของประวัติความเป็นมาและเชื้อชาติ ทำให้ฟิลิปปินส์มีภาษาพูดในปัจจุบันมากกว่า 100 ภาษา ส่วนใหญ่เป็นภาษาที่มีรากเง้ามาจากภาษามาเลย์ ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาตากาลอก (Tagalog) ซีบูโน (Cebuno) โอลอนโก (Ilongo) วาเรย์ - วาเรย์ (Waray - Waray) อิโลคาโน (Ilocano) ปามปันโก (Pampanco) และไบกอล (Bikol)

       สมัยที่ฟิลิปปินส์ตกอยู่ในการปกครองของสเปญ เป็นเวลาประมาณ 300 ปีนั้น ภาษาทางราชการคือ ภาษาสเปญ และเมื่อสหรัฐอเมริกาเข้ามาปกครองต่อจากสเปญ เป็นเวลาอีกประมาณ 50 ปี ภาษาทางราชการก็เปลี่ยนมาเป็นภาษาอังกฤษ ปัจจุบันภาษาราชการคือ ภาษาฟิลิปปินส์ ซึ่งแปลงมาจากภาษากาตาลอก อันมีรากฐานมาจากภาษามาเลย์ และเป็นภาษาบังคับในโรงเรียน แต่เนื่องจากทั่วประเทศ มีภาษาแตกต่างกัน หลายภาษาจึงให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อกลาง

ศาสนา
       ชาวพื้นเมืองของฟิลิปปินส์ มีความเชื่อถือในพระเจ้าที่เรียกว่า Bathalang Majkapall เชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก นอกจากนี้ยังมีเทพเจ้าอื่นๆ อีกมาก ที่มีอำนาจรองลงมา

คนพื้นเมือง
       จะมีพิธีทางศาสนาด้วยการสวดมนต์ และบูชายัญต่อเทพเจ้า และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย โดยมีนักบวชของนิกายนั้น ๆ เป็นผู้ทำพิธี นอกจากเทพเจ้าแล้ว ชาวพื้นเมืองยังนับถือสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว ดาวตก ผีพุ่งใต้ และรวมไปถึงการนับถือบูชาสัตว์บางชนิด เช่น นก และจรเข้ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีต้นไม้ใหญ่ ที่มีอายุมาก แม่น้ำ ก้อนหิน ที่ถูกธรรมชาติตกแต่งไว้อย่างสวยงาม และแปลก

       นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าเมื่อตายไปแล้ว วิญญาณก็จะต้องท่องเที่ยว จะได้ขึ้นสวรรค์ถ้าคนนั้นมีพฤติกรรมดี ส่วนผู้ที่กระทำชั่ว ดุร้าย โหดเหี้ยม ไม่ยุติธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ ก็จะถูกพระเจ้าลงโทษ และนำไปสู่นรก ความเชื่อในยุคโบราณดังกล่าวยังคงมีอยู่ เป็นมรดกสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน สังเกตเห็นได้จากงานเทศกาล และพิธีการต่าง ๆ ของชาวฟิลิปปินส์

ศาสนาอิสลาม 
       เริ่มเข้ามาสู่คนพื้นเมืองฟิลิปปินส์ เมื่อคริสตศตวรรษที่ 14 โดยชนชาวอาหรับได้เข้ามาระหว่างที่มีการติดต่อค้าขายกับฟิลิปปินส์ ปัจจุบันศาสนาอิสลามเริ่มมีบทบาท และอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวฟิลิปปินส์เป็นอย่างมาก พวกนี้จะเรียกตนเองว่า โมโร ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งอยู่ในเกาะมินดาเนา และเกาะซูลู เป็นส่วนมาก

ศาสนาคริสต์
       นิกายโรมันคาธอลิค เป็นนิกายที่สเปญนำเข้ามเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ ในระหว่างที่สเปญปกครองฟิลิปปินส์ คนฟิลิปปินส์ ให้การยอมรับนับถือนิกายนี้มาก และศาสนาคริสต์มีอิทธิพลในวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ของชาวฟิลิปปินส์มาก นอกจากนี้การนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาธอลิค ยังสามารถมีสิทธิในการยกเว้นภาษี และได้รับผลประโยชน์อื่นๆ อีกด้วย เพราะบาทหลวงจะเป็นผู้คอยปกป้องบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลา

       ด้วยสาเหตุดังกล่าว คริสต์ศาสนา จึงเป็นศาสนาประจำชาติ ของฟิลิปปินส์ในปัจจุบัน นิกายโรมันคาธอลิค มีผู้นับถือประมาณร้อยละ 83 นิกายโปรเตสแตนท์ประมาณร้อยละ 3 รวมเป็นประมาณร้อยละ 86

       หลังจากที่สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาทในการปกครองฟิลิปปินส์แล้ว สหรัฐฯ ได้ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ชาวฟิลิปปินส์อย่างมาก และเปิดโอกาสให้ประชาชน มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา และได้นำเอานิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแพร่ในฟิลิปปินส์ด้วย จากสถิติของประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ นอกจากศาสนาคริสต์ แล้ว มีผู้นับถือศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ไม่นับถือศาสนาใดประมาณร้อยละ 2


ประเทศฟิลิปปินส์เล็กกว่าประเทศไทย 2.5 เท่า แต่มีประชากรมากกว่าไทยเรา ราวๆ 82 ล้านคน
อีกทั้งยังมีเกาะเยอะที่สุดในโลก บางคนอาจจะเถียงว่าเป็น อินโดนีเซีย

สิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ ในประเทศฟิลิปปินส์

สิ่งที่ควรทำ 

1. คนฟิลิปปินส์จะทักทายด้วยคำว่า "กูมุสตา" และกล่าวคำว่า "ซาลามัต" (ขอบคุณ) หรือ "มาลามิง ซาลามัต" (ขอบคุณมากๆ) เพื่อแสดงความขอบคุณจากใจ เมื่อได้รับความช่วยเหลือ
2. ควรใช้คำนำหน้าที่สุภาพ เช่น เรียกผู้ชาย "เซอร์" ผู้หญิง "แหม่ม" "มาดาม" สำหรับบุคคลทั่วไปจนกว่าจะอนุญาตให้เรียกชื่อ และควรกล่าวถึงผู้อาวุโสอย่างสุภาพ ควรใช้คำว่า "ตีต้า" (ป้า) "ตีโต้" (ลุง) "คูย่า" (พี่ชาย) "เอท" (พี่สาว) สำหรับญาติของเพื่อน และจบประโยคด้วยคำว่า "โป" เพื่อแสดงความเคารพ และควรทักทายทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่อาวุโสกว่าเมื่อไปเยี่ยมเยียนที่บ้าน และกล่าวคำอำลาเมื่อจะจากกัน
3. คนฟิลิปปินส์จะทักทายเพื่อนด้วยการส่งยิ้มและเลิกคิ้วให้ และเมื่อคนฟิลิปปินส์โบกมือต้อนรับ ควรโบกมือตอบ เพื่อแสดงไมตรีจิตต่อกัน
4. เมื่อได้รับเชิญไปในโอกาสต่างๆ เป็นธรรมเนียมที่ควรไปถึงหลังเวลานัดครึ่งชั่วโมง ยกเว้นการนัดหมายอย่างเป็นทางการหรือเจรจาทางธุรกิจ
5. ควรแต่งกายอย่างสุภาพเรียบร้อย และเหมาะสมกับกาลเทศะ เพราะคนฟิลิปปินส์พิจารณาภาพลักษณ์จากการแต่งกาย
6. ถือเป็นธรรมเนียมที่ควรกล่าวชื่นชมยินดีเกี่ยวกับสถานที่ ที่ไปเยือนต่อเจ้าของสถานที่ด้วย
7. เมื่อได้รับเชิญไปในโอกาสต่างๆ ควรเขียนจดหมายขอบคุณด้วยลายมือไปยังเจ้าภาพ ภายใน 1 สัปดาห์ หลังงานเสร็จสิ้นแล้ว
8. เมื่อได้รับเชิญไปร่วมรับประทานอาหารควรนำขนม หรือดอกไม้ไปมอบให้เจ้าภาพด้วย
9. คนฟิลิปปินส์ถือว่าการห่อของขวัญเป็นเรื่องสำคัญ จึงควรห่อด้วยความประณีตสวยงาม โดยไม่มีข้อห้ามเรื่องสีในการห่อสิ่งของ
10. การปฏิเสธคำเชื้อเชิญไม่ว่าเหตุใด ให้บอกว่าติดภารกิจอื่นซึ่งถือว่าเป็นคำปฏิเสธที่สุภาพที่สุด




สิ่งที่ไม่ควรทำ

1. ไม่ควรเรียกภรรยาของเจ้าบ้านว่า แม่บ้าน เพราะถือว่าเป็นคำดูถูก
2. ไม่ควรให้ดอกเบญจมาศ และดอกลิลลี่สีขาว เพราะถือเป็นดอกไม้ที่ใช้ในงานศพ
3. เมื่อได้รับของขวัญจากคนฟิลิปปินส์ ไม่ควรเปิดดูต่อหน้าผู้ให้ทันที
4. เมื่อได้รับเชิญไปงาน ไม่ควรนำกระเช้าผลไม้ไปให้เจ้าภาพ หรือส่งไปก่อน เพราะถือเป็นการดูถูก ควรให้หลังงานไปแล้ว เพื่อแสดงความขอบคุณ
5. ไม่ควรปฏิเสธอาหารที่คนฟิลิปปินส์ได้จัดเตรียมหรือตั้งใจนำมาให้ โดยเฉพาะอาหารที่ผู้ให้ปรุงด้วยตนเอง
6. ไม่ควรรับประทานหรือตักอาหารก่อนเจ้าภาพ
7. ไม่ควรใช้นิ้วชี้ไปยังคน หรือสิ่งของต่างๆ ถือว่าไม่สุภาพ แต่คนฟิลิปปินส์มักจะใช้การบุ้ยปากแทน
8. ไม่ควรพูดจาเสียงดัง แสดงความโกรธหรือการไม่เคารพ รวมถึงการวิพากวิจารณ์ผู้อื่นต่อหน้าเขา
9. ถ้าพบคนพูดภาษาท้องถิ่น และไม่สามารถสื่อสารกันได้ ไม่ควรแสดงความโกรธเกรี้ยว ควรหาคนอื่นมาสื่อสารแทน
10. ไม่ควรนัดคนฟิลิปปินส์ในวันอาทิตย์ เพราะเป็นวันที่ไปโบสถ์และถือเป็นวันครอบครัว


ฮาโล ฮาโล (Halo Halo)


1020
ฮาโล ฮาโล ติดอันดับ 5 ของโลก


       จานเด็ดของชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ไข่บาลุท แต่รับประกันได้ว่าไม่น่าสะอิดสะเอียน ทั้งนี้ ฮาโล ฮาโล ไม่มีสูตรการทำที่แน่นอน แต่ดูๆไปก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำแข็งใสของบ้านเรา โดยนำน้ำแข็งบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สับปะรด และอื่นๆ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชื่อม โดยสามารถหารับประทานได้ทุกที่ในกรุงมะนิลา


9

Halo-Halo เป็นประโยชน์หรือฟิลิปปินส์แบบดั้งเดิมประกอบด้วยส่วนผสมของผลไม้แยมหวาน, 
ระเหยนมและน้ำแข็งโกน มันเป็นเรื่องที่ยอดบ่อยครั้งกับตักไอศครีม ชื่อมีความหมายว่า “Mix-Mix.”


ส่วนผสม Halo Halo

1. ผลปาล์มหวาน
2. มะพร้าวอ่อนนุ่ม
3. ขนุน
4. ถั่วเขียว
5. กล้ากล้วยเหมือน
6. มันเทศสีม่วง
7. ข้าวโพด
8. วุ้นมะพร้าว
9. ข้าวแห้งทุบ
10. สาคู



วิธีทำ

1. นำน้ำแข็งใสบดมาเติมด้วยเครื่องเคียง 
เช่น ถั่วเขียว ลูกตาล ขนุน มะพร้าวอ่อน ไอศกรีม วุ้นมะพร้าว สัปปะรด และอื่นๆ
2. ปิดท้ายด้วยการราดนมข้นหวานและน้ำเชี่อม


ขนมมันเลือดนกกวน อูเบ้ฮาลายา

อูเบ้ฮาลายา ขนมมันเลือดนกกวน สัญชาติฟิลิปปินส์
อูเบ้ฮาลายา

       ไหนๆ ก็ใกล้เข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว วันนี้จึงพาทุกคนข้ามทะเลไปรู้จักกับขนมของประเทศเพื่อนบ้านที่มีชื่อว่า "อูเบ้ฮาลายา" (Ube Halaya) หรือ "ขนมมันเลือดนกกวน" ขนมสัญชาติฟิลิปปินส์ที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายๆ กับเผือกกวนบ้านเรานี่แหละ ทำมาจากมันพันธุ์หนึ่งที่ชาวฟิลิปปินส์ชอบกิน แต่จะมีกลิ่นที่หอมและมีความมันมากกว่าจากนม เนย และกลิ่นวานิลลานั่นเอง


อูเบ้ฮาลายา ขนมมันเลือดนกกวน สัญชาติฟิลิปปินส์

       ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักมันชื่อโหดนี้กันสักนิดหนึ่งก่อนดีกว่า "มันเลือดนก" มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น มันเลือด, มันเสา (Purple Yams) ชาวฟิลิปปินส์จะเรียกว่า อูเบ้ (Ube) เป็นมันที่อยู่ในตระกูลเดียวกับหัวกลอย รูปร่างหน้าตาอาจจะเหมือนกับมันต่อเผือกสีม่วง ๆ ของบ้านเราแต่คนละอย่างนะคะ อย่าเข้าใจผิด ซึ่งเจ้ามันเลือดนกนี้มีโพแทสเซียมและวิตามินซีสูงมาก


ส่วนผสม


  • มันเลือด (มันเสา) 1.5 ปอนด์
  • เนยสด 1/4 ถ้วย (หรือมาร์การีน)
  • นมข้นหวาน 1 กระป๋อง (14 ออนซ์)
  • กะทิ  1/2 ถ้วย  (หรือนมข้นจืด)
  • กลิ่นวานิลลา 1 ช้อนชา  (ใส่หรือไม่ใส่ก็ได้)
  • มะพร้าวอบกรอบ สำหรับโรยหน้า


วิธีทำ

1. ล้างมันเลือดนกให้สะอาด ปอกเปลือกออกแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ (เพื่อให้สุกง่าย) แล้วนำไปต้มในน้ำเดือด ประมาณ 15-20 นาที

2. ระหว่างรอมันต้ม ใส่เนย นมข้นหวาน กะทิ และกลิ่นวานิลลาลงในหม้อ คนให้เข้ากันแล้วนำขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ คนผสมให้ทุกอย่างละลายเข้ากัน เตรียมไว้

3. หลังจากต้มมัน 15 นาทีผ่านไป ให้ลองเช็กความสุกของของมันที่ต้มไว้โดยใช้ส้อมจิ้มแล้วดึงขึ้น ถ้าส้อมสะอาดไม่มีเศษมันติด แสดงว่าใช้ได้แล้ว จากนั้นเทน้ำทิ้ง

4. ใช้ที่บดมันฝรั่งหรือส้อมบดมันให้ละเอียดเป็นเนื้อเนียน เทส่วนผสมซอสลงไปคนผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว (เพื่อความเร็วแและง่ายให้ใช้เครื่องปั่นไฟฟ้าช่วยปั่นส่วนผสมให้เป็นเนื้อเนียนละเอียดมากยิ่งขึ้น)

5. ยกส่วนผสมขึ้นกวนบนเตาด้วยไฟอ่อนประมาณ 10-15 นาที (ระวังเวลาเดือดส่วนผสมจะกระเด็น) กวนจนส่วนผสทมร่อนออกจากกระทะ

6. ตักส่วนผสมใส่พิมพ์ (ตามชอบ) ปาดหน้าให้เรียบ พักทิ้งไว้จนเย็น ปิดด้วยพลาสติกถนอมอาหาร นำเข้าแช่เย็นประมาณ 1 ชั่วโมง 

7. นำมันเลือดนกกวนออกจากพิมพ์ โรยด้วยมะพร้าวอบกรอบ ตัดเป็นชิ้น พร้อมเสิร์ฟ

       เกิดมาก็เพิ่งจะเคยได้ยินชื่อ มันเลือดนก กับเขาก็คราวนี้ล่ะ ถึงชื่อจะดูโหดแต่พอเอามาทำขนมกลับกลายเป็นว่าน่ากินขึ้นมาซะงั้น! 

วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ภาษาประเทศฟิลิปปินส์

เรียนรู้ภาษาประเทศฟิลิปปินส์


    หมวดทักทาย

คำศัพท์ 
คำอ่าน 
สวัสดีกูมูสต้า
อากาศดีจังมากันดัง พานาฮอน 
สบายดีไหมกูมูสต้า กา
พบกันใหม่มากิตา คายอง มูลิ
ขอบคุณ ซาลามัต
นอนหลับฝันดี มาทูลอก นัง มาบูติ 
เชิญ แมค อันยาย่า (mag-anyaya) 
ไม่เป็นไร ฮินดี้ บาเล 
ยินดีที่ได้รู้จักนาตูตูวา นาอลัม โม 
ลาก่อนปาอาลัม
ใช่ โอ้โอ 
ไม่ใช่ ฮินดี้ 
อากาศร้อนมากมัสยาดอง มาอินิท
อากาศหนาวมาก มัสยาดอง มาลามิค พานาฮอน 

หมวดอาหาร

คำศัพท์ 
คำอ่าน 
ก๋วยเตี๋ยว มิกิ
น้ำแกง โซปัส
ของหวาน ฮิมากัส
ขนมดิเซิ้ร์ท
ไอศกรีม ซอร์เบเทส
น้ำทูบิก 
กาแฟอั๊ง ขะเพ่
นมกาตัส 
เนื้อหมูอั๊ง บาโบย
ไก่อั๊ง มะนก 
ปลาอั๊ง อิสด้า 
เนื้อวัวอั๊ง คาเน่ 
ผักกูเล
ผลไม้อั๊ง พรูตัส 
อร่อยมาซารับ
เผ็ดมาอางแฮง 
หวานมาตามิส
เปรี้ยวมาซิม 
เค็มมาลัด

หมวดการนับเลข

คำศัพท์
คำอ่าน 
หนึ่งอิซ่า
สองดาราวา 
สามแท้ทโล่ 
สี่อะพัต 
ห้าลิม่า 
หกอะนิม
เจ็ดพิโต้ 
แปดวาโล่ 
เก้าสิแยม 
สิบซำปู 
วันอะรอ 
สัปดาห์ลิ้งโก้ 
เดือนบูวาน
ปีทาออน
กี่โมงแล้ว อนง ออราส นา 
ชั่วโมงออราส
นาที มินูโต้


หมวดช็อปปิ้ง

คำศัพท์ 
คำอ่าน 
ราคาเท่าไหร่มักกาโน่
ลดราคาได้ไหมซาแพคเบเบนต้า ซา อะคิน
เงินทอนอั๊ง แพคบาบาโก 
เงินสดแคช 
บัตรเครดิต เครดิต การ์ด 
ราคาแพง มาฮาล
ราคาถูก มูร่า
ซื้อบูมิลิ
ไม่ซื้อฮินดี้ บูมิลิ
เสื้อผ้าเทล่า 
รองเท้า ซาปาโตส
เครื่องสำอาง คอสเมติโก้ 
ยากาม้อต
เครื่องใช้ไฟฟ้ากาซังกาปาน
กระเป๋าซูพด
กระเป๋าสตางค์ พิตาก้า
หนังสือเดินทางพาสปอร์ตเต้


หมวดอำนวยความสะดวก

คำศัพท์ 
คำอ่าน 
ห้องน้ำ บันโย 
โทรศัพท์ เทเลโฟโน่
บัตรเติมเงิน พรีเพทการ์ด 
โทรศัพท์สาธารณะ ปัมปูบลิคอง เทเลโฟโน่
โทรศัพท์มือถือเซลโฟน 
ตู้ ATM เอทีเอ็ม
ผ้าเย็น มาลามิค นา ตูวัลย่า 
รองเท้าแตะ สิเนลาส 
ผ้าเช็ดตัว ตูวัลย่า 
ผ้าเช็ดหน้า ปันโย่ 
กล้องถ่ายรูปคาเมร่า 
กล้องวิดีโอ แคมคอเด้อร์ 


หมวดการเดินทาง


คำศัพท์
คำอ่าน 
โรงแรม โอเทล 
โรงภาพยนตร์ ซีเนฮาน 
โรงละครเทียโตร
โรงพยาบาลออสปิตอล
พิพิธภัณฑ์มูสิโอ้
สถานีตำรวจ เอสตัสยอน อัง ปูลิส 
ภัตตคาารเรสตอรอน 
ถนนแคลยี่ 
ร้านค้ามามิลี่
ห้างสรรพสินค้าดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ 
ร้านขายยาโบติก้า
สวนสาธารณะแปมปูบลิคอน ปาเก้ 
สนามกีฬาอิสตาเดี้ยม
สนามบินปาริปารัน 
สถานีขนส่งสายเหนือ ฮิราก้า บัส เทอมินอล 
สถานีขนส่งสายใต้ ติม้อก บัส เทอมินอล 
สถานีขนส่งสายตะวันออกสิลังกัน บัส เทอมินอล
ธนาคารแบงโก้
แท็กซี่แท้กซี่
รถเมล์บัส
รถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที เม้ทโทร เรล ทรานสิท
รถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที
เรือลันซัง ปันตาวิท 
รถทัวร์ลิเบร่
เครื่องบินอีโรลาโน่

ภาษา

ภาษาตากาล็อก    

       ภาษาตากาล็อกเป็นหนึ่งในภาษาหลักของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความสัมพันธ์กับ ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนในไต้หวันเป็นภาษาประจำชาติและภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษในประเทศฟิลิปปินส์ ใช้เป็นภาษากลางภายในประเทศ มีผู้พูดราว 85 ล้านคน ในทางธุรกิจนิยมใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า

ระบบเสียง
       ภาษาตากาล็อกมีหน่วยเสียง 21 เสียง เป็นเสียงพยัญชนะ 16 เสียง เสียงสระ 5 เสียง ก่อนการเข้ามาของชาวสเปน ภาษาตากาล็อกมีเสียงสระเพียง 3 เสียง คือ /a/, /i/, และ /u/ เอมีคำยืมจากภาษาสเปนจึงเพิ่มสระอีก 2 เสียง คือ /ε/ และ /o/ นอกจากนั้นมีสระประสมเพิ่มอีก 4 เสียงคือ /aI/, /oI/, /aU/ และ /iU/ พยัญชนะในภาษาตากาล็อกไม่มีเสียงลมแทรก มีการเน้นเสียงหนักภายในคำที่ทำให้เสียงสระยาวขึ้นด้วย

ไวยากรณ์
       ภาษาตากาล็อกเรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม มีระบบการผันคำกริยาที่ซับซ้อนกว่าคำนาม คำขยายเรียงก่อนหรือหลังคำที่ถูกขยายก็ได้ ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะใช้คำเชื่อมต่างกัน

ประวัติ
       คำว่าตากาล็อกมาจาก taga-ilog โดย taga หมายถึงท้องถิ่นของ และ ilog หมายถึงแม่น้ำ รวมแล้วหมายถึงผู้อาศัยอยู่กับแม่น้ำ ไม่มีตัวอย่างการเขียนของภาษาตากาล็อก ก่อนการมาถึงของสเปนในพุทธศตวรรษที่ 21 เหลืออยู่เลย ประวัติศาสตร์ของภาษาจึงเหลืออยู่น้อยมาก คาดว่าภาษานี้กำเนิดในฟิลิปปินส์ตอนกลางจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของมินดาเนาหรือวิซายาตะวันออก

       หนังสือเล่มแรกที่เขียนด้วยภาษาตากาล็อกคือ Doctrina Cristiana ใน พ.ศ. 2136 โดยในหนังสือเล่มนี้เขียนด้วยภาษาสเปนและภาษาตากาล็อก 2 รูปแบบคือใช้อักษรละตินและอักษรบายบายิน ในช่วงที่สเปนยึดครองอยู่ 333 ปี มีไวยากรณ์และพจนานุกรมเขียนโดยบาทหลวงชาวสเปน

       ใน พ.ศ. 2480 ได้มีการสร้างภาษาประจำชาติโดยสถาบันภาษาแห่งชาติโดยใช้ภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐาน ภาษาประจำชาติที่เคยตั้งชื่อว่า Wikang pambansa (ภาษาแห่งชาติ) โดยประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนเมื่อ พ.ศ. 2482 ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปิโนใน พ.ศ. 2502 แต่การเปลี่ยนชื่อนี้ไม่ได้รับการยอมรับจากผู้ที่ไม่ได้พูดภาษาตากาล็อก โดยเฉพาะผู้พูดภาษาเซบู

       ใน พ.ศ. 2514 เกิดหัวข้อทางด้านภาษาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติจากภาษาปิลิปิโนเป็นภาษาฟิลิปิโน โดยภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาที่ผสมลักษณะของภาษาตากาล็อกสำเนียงลูซอนกลาง ภาษาอังกฤษและภาษาสเปน

การจัดจำแนก
       ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาในกลุ่มฟิลิปปินส์กลาง ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีความใกล้เคียงกับภาษาในกลุ่มมาลาโย-โพลีเนเซียอื่น ๆ เช่น ภาษาอินโดนีเซีย ภาษามาเลย์ ภาษาฟิจิ ภาษาเมารี ภาษาฮาวาย ภาษามาลากาซี ภาษาซามัว ภาษาตาฮิติ ภาษาชามอร์โร ภาษาเตตุม และภาษาไปวัน มีความสัมพันธ์กับภาษาที่พูดในบิโกลและวิซายา เช่น ภาษาบิโกล ภาษาฮิลิไกนอน ภาษาวาไร-วาไร และภาษาเซบู


       ภาษาที่มีอิทธิพลต่อภาษาตากาล็อกที่สำคัญได้แก่ ภาษาสเปน ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอาหรับ ภาษาสันสกฤต ภาษามาเลย์โบราณ และภาษาทมิฬ

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
       ส่วนที่เป็นบ้านเกิดของภาษาตากาล็อกหรือ katagalugan ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของเกาะลูซอน โดยเฉพาะในอูรอรา บาตายัน บาตันกัส บูลาจัน ลามารีนเหนือ กาบิเต ลากูนา เมโทรมะนิลา นูเอบาเอซิฮา เกซอน และริซัล ภาษาตากาล็อกใช้พูดเป็นภาษาแม่โดยผู้ที่อยู่ในเกาะลูบัว มารินดูเก

       ทางเหนือและทางตะวันตกของมินโดโร มีผู้พูดประมาณ 64.3 ล้านคน ผู้พุดภาษาตากาล็อกยังแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่นๆทั่วโลก แต่มีการใช้น้อยในการสื่อสารระหว่างชนกลุ่มน้อยในฟิลิปปินส์ มีผู้พูดภาษานี้ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา

ระบบการเขียน
อักษรบายบายิน
       ภาษาตากาล็อกเคยเขียนด้วยอักษรบายบายินก่อนการเข้ามาของสเปน ในศตวรรษที่ 16 อักษรนี้ประกอบด้วยสระ 3 ตัว และพยัญชนะ 14 ตัว เมื่อเทียบกับตระกูลอักษรพราหฺมี อักษรนี้มีความคล้ายคลึงกับอักษรกวิโบราณของชวา ซึ่งเชื่อว่าสืบทอดมาจากอักษรบูกิสในสุลาเวสี ต่อมาอักษรนี้ได้เลิกใช้ไป เพราะนิยมใช้อักษรละตินที่เข้ามาในช่วงที่เป็นอาณานิคมของสเปน


       อักษรบายบายินถูกกำหนดด้วยยูนิโคด รุ่น 3.2 ในช่วง 1700-171F ด้วยชื่อ "Tagalog".

คำอธิบายอักษรบายิน
อักษรละติน
       ในช่วงศตวรรษที่ 20 ภาษาตากาล็อกเขียนด้วยอักษรละติน โดยใช้ระบบการออกเสียงของภาษาสเปน เมื่อระบบภาษาประจำชาติได้พัฒนาขึ้นโดยใช้พื้นฐานจากภาษาตากาล็อก Lope K. Santos ได้พัฒนาตัวอักษรใหม่ประกอบด้วยอักษร 20 ตัว

สถานะการเป็นภาษาราชการ
       ภาษาตากาล็อกถูกประกาศให้เป็นภาษาราชการเมื่อโดยสถาบันไบก์นาบาโตเมื่อ พ.ศ. 2440 ใน พ.ศ. 2478 ได้ยกเลิกการใช้ภาษาอังกฤษและภาษาสเปนเป็นภาษาราชการ และได้พัฒนาภาษาราชการใหม่ขึ้นมา หลังจากการประชุมของสถาบันภาษาแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทน 7 คน จากส่วนต่างๆของฟิลิปปินส์ได้เลือกภาษาตากาล็อกให้เป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ 

       ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอนได้ประกาศเมื่อ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2480 ว่าได้เลือกภาษาตากาล็อกเป็นพื้นฐานของการพัฒนาภาษาประจำชาติ ต่อมา ใน พ.ศ. 2482 ประธานาธิบดีมานูเอล เกซอน ได้เปลี่ยนชื่อภาษาประจำชาติ ที่มีพื้นฐานมาจากภาษาตากาล็อกว่า วีกัง ปัมบันซา (ภาษาประจำชาติ) ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นภาษาปิลิปิโน ในปีเดียวกัน

       ใน พ.ศ. 2516 ได้ประกาศยกเลิกการใช้ภาษาปิลิปิโนเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอังกฤษ และได้พัฒนาภาษาประจำชาติขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาฟิลิปิโน


ความแตกต่างระหว่างภาษาฟิลิปิโนกับภาษาตากาล็อก
       คำว่าฟิลิปิโนและตากาล็อกเป็นชื่อของภาษาที่ใกล้เคียงกัน อาจจะหมายถึงภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาก็ได้ ภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาประจำชาติของฟิลิปปินส์ มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 30% ของประชากร 84 ล้านคน และเป็นภาษาที่สองของประชากรอีกราว 80% 

       ส่วนภาษาตากาล็อกมีสถานะเป็นภาษาพื้นเมืองของชาวตากาล็อกโดยผู้พูดเป็นภาษาแม่น้อยกว่าภาษาฟิลิปิโน เพราะผู้ที่ไม่ใช่ชาวตากาล็อกซึ่งอยุ่ห่างออกไปจากเขตของชาวตากาล็อกคือภาคกลางและภาคใต้ของเกาะลูซอน ใช้ภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาแม่แต่เรียกตัวเองว่าเป็นชาวตากาล็อกด้วย โดยทั่วไปผู้ที่พูดภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาแม่จะไม่มีใครพูดว่าใช้ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่สอง แต่มักถือว่าเป็นผู้พูดของทั้งสองภาษา ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่การเขียนและการแปรผันของคำศัพท์มากกว่า

       ภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาราชการในโรงเรียนและใช้ในสื่อต่างๆแต่มีความสำคัญน้อยกว่าภาษาอังกฤษ รวมทั้งในการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์แต่ถือว่าคู่คี่กับภาษาอังกฤษในด้านการค้าขายและการติดต่อราชการ ภาษาฟิลิปิโนใช้เป็นภาษากลางทั่วประเทศฟิลิปปินส์โดยเฉพาะการบริการสาธารณะในเขตที่ไม่ใช้ภาษาตากาล็อก

       ภาษาตากาล็อกเป็นภาษาที่เก่ากว่า มีศูนย์กลางอยู่ในเขตของชาวตากาล็อกในเกาะลูซอน ภาษาฟิลิปิโนมีประวัติย้อนหลังไปเพียง พ.ศ. 2473 ในชื่อภาษาปิลิปิโนซึ่งขณะนั้นยังไม่ต่างจากภาษาตากาล็อกมากนัก ความแตกต่างเริ่มชัดเจนเมื่อ พ.ศ. 2515 ก่อนจะเป็นภาษาราชการเมื่อ พ.ศ. 2530 ภาษาฟิลิปิโนมีอักษร 28 ตัว (รวม "ng" ที่ถือเป็นอักษรเดี่ยวและอักษรที่มาจากภาษาสเปน ñ) และมีระบบของหน่วยเสียงและคำยืมที่เปิดกว้างสำหรับคำยืมจากภาษาต่างชาติและภาษาพื้นเมืองอื่นๆ 

       ภาษาตากาล็อกมีอักษร 20 ตัว (ไม่มี c, f, j, q, v, x, z; แต่ใช้ "ng" เป็นอักษรเดี่ยว) และระบบของหน่วยเสียงที่ไม่เปิดกว้างสำหรับภาษาอื่นนอกจากภาษาละตินของวาติกัน

       เนื่องจากตากาล็อกเป็นชื่อของกลุ่มชนด้วย จึงมีความอ่อนไหวทางการเมืองหากจะกล่าวว่าภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาเดียวกับภาษาตากาล็อกคำว่าฟิลิปิโนเป็นคำที่เป็นกลางโดยมาจากชื่อของประเทศไม่ได้มาจากชื่อชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ภาษาฟิลิปิโนมีบทบาทเป็นภาษากลางในบริเวณที่เคยใช้ภาษาอื่นๆมาก่อน เช่น ในเกาะมินดาเนาที่เคยใช้ภาษาซีบัวโนเป็นภาษากลางและเมืองบากุยโอที่เคยใช้ภาษาอีโลกาโนเป็นภาษากลาง เนื่องจากภาษาฟิลิปิโนเป็นภาษาในโรงเรียน การศึกษาจะทำให้ช่องว่างระหว่างภาษาตากาล็อกกับภาษาฟิลิปิโนห่างไกลกันยิ่งขึ้น


บริเวณที่มีผู้พูดภาษาตากาลอกเป็นภาษาหลักในฟิลิปปินส์ โดยมีสำเนียงหลัก 4 สำเนียง: เหนือ, กลาง, ใต้, และ มารินดูเกว.

คำศัพท์และคำยืม
       คำศัพท์ภาษาตากาล็อกส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากคำศัพท์ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และมีคำยืมจากภาษาสเปน ภาษาจีนฮกเกี้ยน ภาษามาเลย์ ภาษาสันสกฤต ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษากาปัมปางัน ภาษาทมิฬ และภาษาอื่นๆในตระกูลออสโตรนีเซียน 

       เนื่องจากมีการค้าขายระหว่างเม็กซิโกและมะนิลาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21- 24 ทำให้มีคำยืมจากภาษาของชาวอินเดียนแดงในภาษาตากาล็อกด้วย

       ภาษาอังกฤษได้ยืมคำจากภาษาตากาล็อกมาใช้ด้วยเช่นกัน

ดอกไม้ประจำชาติ


ดอกไม้ประจำชาติ ดอกพุดแก้ว

       ดอก Sampaguita Jasmine หรือดอกพุดแก้ว เป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ตั้งแต่ปี 1934 ดอก Sampaguita มีกลีบดอกรูปดาวสีขาวที่บานตลอดทั้งปี โดยจะแย้มดอกในตอนกลางคืนและส่งกลิ่นหอมประมาณหนึ่งวัน สำหรับประชาชนชาวฟิลิปปินส์ ดอกไม้ชนิดนี้เป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ ความเรียบง่าย ความอ่อนน้อมถ่อมตน และความเข้มแข็ง การผลิบานของดอก Sampaguita ถูกนำมาเฉลิมฉลองในตำนานเรื่องเล่าและบทเพลงของประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีความเชื่อว่าดอกไม้ชนิดนี้มีที่มาจากแถบ Himalaya ในศตวรรษที่ 17


ชื่อพื้นเมือง           -

ลักษณะทั่วไป      
       ไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 10 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ สีเขียวเข้ม

เปลือกต้น              
      สีขาวเทา แตกเป็นร่องตามยาว

ใบ                          
       ประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ เรียงสลับกันจากเล็กไปหาใหญ่ สีเขียวเข้มเป็นมัน ใบย่อยที่ปลายก้านใบรูปไข่ รูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายแหลม โคนแหลมหรือสอบ ขอบเป็นคลื่นหรือหยักมนตื้นๆ โคนใบเบี้ยวเล็กน้อย ใบมีต่อมน้ำมัน

ดอก                     
      ดอกมีสีขาวกลีบดอกเป็นรูปดาว มีกลิ่นหอม

ผล 
       รูปรีหรือรูปไข่ กว้าง 5-8 มม. ยาวประมาณ 1 ซม. ผลแก่สีแดงอมส้ม ต่อมน้ำมันเห็นได้ชัด 
      
ด้านภูมิทัศน์         -

ขนมปังและแพสตรี

เลเชฟลาน
   

   สำหรับเบเกอรีท้องถิ่นของฟิลิปปินส์ ปันเดซัล โมนาย และเอ็นซายมาดาเป็นขนมที่มีขายทั่วไป ปันเดซัลมาจากภาษาสเปน pan de sal (ขนมปังเกลือ) นิยมรับประทานกับกาแฟ ทำเป็นรูปขนมปังม้วนโรยด้วยเกล็ดขนมปังก่อนอบ แต่ไม่ได้มีรสเค็ม โมนายเป็นขนมปังที่แน่น เอนซายมาดา มาจากภาษาสเปน ensaimada เป็นเพสตรีที่ใช้เนยเหลว มักโรยหน้าด้วยน้ำตาลและชีส

       เป็นที่นิยมช่วงคริสต์มาส บางครั้งจะเพิ่มมันสีม่วงหรือมะพร้าวอบ ขนมปังที่เป็นที่นิยมขายอีกชนิดหนึ่งในฟิลิปปินส์คือปันเดโกโก เป็นขนมปังม้วนรสหวาน ใส่มะพร้าวผสมกากน้ำตาล ปูตอกเป็นขนมปังก้อนเล็กแข็ง ด้านนอกมีน้ำตาลเกาะ กาบาบายัน เป็นมัฟฟินขนาดเล็ก รสหวาน เปียโนโนเป็นชิฟฟอนโรลที่มีหลายรส บราโซเดเมอเซเดสเป็นเค้กม้วนที่ใส่เนยและคัสตาร์ด ซิลวาญาสเป็นคุกกี้ขนาดใหญ่ บาร์กิลลอสเป็นเวเฟอร์ม้วนเป็นท่อที่เติมไส้ลงไปได้ เลเชฟลานเป็นคาราเมลคัสตาร์ด ทำจากไข่และนม ปกตินำไปนึ่งให้สุก ส่วนน้อยที่นำไปอบ ถ้าใส่ไข่และน้ำตาลมากขึ้นจะเรียกโตกีโนเดลกีเอโล


แพสตรีแบบ mille-feuille

อาหาร

อาหารประจำชาติฟิลิปปินส์ อะโดโบ
     

       อาหารฟิลิปปินส์ ประกอบด้วยอาหาร วิธีการเตรียมและประเพณีการรับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของประเทศฟิลิปปินส์ รูปแบบของการทำอาหารและอาหารที่เกี่ยวข้องมีการพัฒนาตลอดระยะหลายศตวรรษจากวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชนที่พูดภาษาในตระกูลออสโตรนีเซียนผสมกับอาหารสเปนและโปรตุเกส จีน อเมริกัน และอาหารอื่น ๆ ในเอเชียที่ปรับให้เข้ากับส่วนผสมพื้นเมืองและความนิยมในท้องถิ่น

       อาหารมีตั้งแต่ง่ายมากเช่นปลาทอดเค็มและข้าวและอาหารที่มีความประณีต อาหารยอดนิยมฟิลิปปินส์ยอดนิยมได้แก่ เลชอน (lechón หมูย่างทั้งตัว), ลองกานิซา (longganisa ไส้กรอกฟิลิปปินส์), ตาปา (tapa ทำจากเนื้อวัว), ตอร์ตา (torta ไข่เจียว), อาโดโบ (adobo ไก่และ/หรือหมูต้มในกระเทียม น้ำส้มสายชู น้ำมัน และซอสถั่วเหลืองเคี่ยวจนแห้ง), กัลเดเรตา (kaldereta สตูเนื้อในซอสมะเขือเทศ), เมชาโด (mechado เนื้อปรุงกับถั่วเหลืองและซอสมะเขือเทศ), โปเชโร (pochero กล้วยและเนื้อในซอสมะเขือเทศ), อาฟริตาดา (afritada ไก่หรือหมูในซอสมะเขือเทศกับผัก), การี-กาเร (kari-kare หางวัว และผักสุกในซอสถั่วลิสง), ปาตากรอบ (ขาหมูทอด), ฮาโมนาโด (hamonado หมูหวานในซอสสับปะรด), อาหารทะเลในน้ำซุปรสเปรี้ยว, ปันสิต (pancit ก๋วยเตี๋ยว) และลุมเปีย (lumpia ปอเปี๊ยะสดหรือทอด)

อาหารขึ้นชื่อของฟิลิปปินส์

สถานที่ท่องเที่ยว

10 สถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาด

       ฟิลิปปินส์ ประเทศเกาะที่โดดเด่นเรื่องความสวยงามของธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภูเขา ทะเล หรือหาดทราย มันจึงเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเยือนไม่ขาดสาย และสำหรับใครที่มีแพลนจะไปฟิลิปปินส์ละก็ เรามี 10 สถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจในฟิลิปปินส์จากเว็บไซต์ touropia มาแนะนำกันค่ะ

1. อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา


       ใครที่ชื่นชอบการดำน้ำชมปะการัง อย่าลืมแวะเวียนมาที่ทะเลซูลู (Sulu Sea) เพราะมันเป็นที่ตั้งของอุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา ปะการังวงแหวนอันสวยงามและมีขนาดใหญ่ อีกทั้งยังคงความสมบูรณ์ รวมทั้งมีปลาทะเลมากมายหลายสายพันธุ์ โดยอุทยานแห่งชาติปะการังตุบบาตาฮาจะเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาดำน้ำชมปะการังในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน นั่นก็เพราะว่าช่วงเวลาดังกล่าวทะเลมีคลื่นลมสงบนั่นเอง

2. โบสถ์ซานอากุสติน


       โบสถ์ซานอากุสติน ตั้งอยู่ในกรุงมะนิลา และยังเป็นโบสถ์อันเก่าแก่ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1589 ชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง เนื่องจากเคยเกิดแผ่นดินไหวถึงเจ็ดครั้งและไฟไหม้อีกสองครั้ง ทว่าโบสถ์ซานอากุสตินยังคงรอดพ้นมาได้และคงสภาพที่สมบูรณ์เช่นเดิม ด้านสถาปัตยกรรมนั้น ภายนอกของโบสถ์ทำจากหินส่วนภายในได้รับอิทธิพลการตกแต่งแบบเม็กซิกัน ดังจะเห็นได้จากการออกแบบไม้กางเกงและจิตรกรรมฝาผนังโดย Giovanni Dibella และ Cesare Alberoni สองศิลปินชาวอิตาเลียนที่ได้บรรจงวาดไว้เมื่อปี ค.ศ. 1800

3. ภูเขาไฟมายอน


       ภูเขาไฟมายอน ขึ้นชื่อว่าเป็นสถานที่สวยงามซึ่งแฝงไปด้วยอันตราย เพราะมันเป็นภูเขาไฟที่มีการปะทุบ่อยที่สุดในฟิลิปปินส์ โดยมีการปะทุถึง 49 ครั้งในรอบ 400 ปี แต่ครั้งร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1814 เป็นการปะทุแบบทำลายล้างและมีลาวาไหลไปทั่วซึ่งจะเห็นได้จากลาวาที่แข็งตัวจนกลายเป็นหินอยู่รอบพื้นที่
       ทว่าความสวยงามของรูปทรงและจุดชมวิวบนยอดเขาทำให้นักท่องเที่ยวมักจะเสี่ยงขึ้นมาตั้งแคมป์, ปีนเขา และเดินป่าเพื่อชมความงดงามของธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีซากปรักหักพังของโบสถ์อันเก่าแก่ที่ถูกทำลายโดยลาวา และยังคงเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวนิยมมาแชะภาพคู่


4. เกาะมาลาปาสกัว



       เกาะมาลาปาสกัว เป็นเกาะเล็ก ๆ ที่มีบรรยากาศเงียบสงบ ส่วนใหญ่เป็นชาวประมงที่อาศัยอยู่บนเกาะแห่งนี้ นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาพักผ่อนหย่อนใจด้วยการดำน้ำตื้นหรือดำน้ำลึกเพื่อชมปะการัง นอกจากนี้มันยังเป็นที่ซึ่งคุณจะพบกับสัตว์ประจำถิ่นอย่าง ฉลามหางยาว, ปลากระเบนแมนตา และปลาฉลามหัวค้อนได้แบบง่าย ๆ หรือใครอยากจะชิลไปกับการเดินรับลมหรือนอนอาบแดดบนชาดหายสีขาวก็เป็นไอเดียที่ดี ที่สำคัญยังมีสวนมะพร้าวมากมาย คุณจึงสดชื่นไปกับการดื่มน้ำมะพร้าวรสชาติหอมหวาน แค่คิดก็ฟินสุด ๆ แล้ว

5. เมืองเปอร์โต กาเลรา


       เมืองเปอร์โต กาเลรา เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทางตอนใต้ของกรุงมะนิลา และมันยังมีชายหาดที่ที่สวยงามขึ้นชื่อว่าต้องมาเยือนสักครั้ง เพราะนอกจากหาดทรายขาวที่ทอดยาวขนานกับชายฝั่งแล้ว ยังมีสัตว์น้ำทะเลหลากหลายชนิดที่จะทำให้คุณเพลิดเพลินไปกับความสวยงามของมัน และที่พลาดไม่ได้เลย คือ หาด Muelle ที่โด่งดังเรื่องการดำน้ำชมปะการังและการล่องเรือชมความสวยงามรอบเกาะ หรือใครที่กำลังหาสถานที่สำหรับดินเนอร์กับคนรัก ที่นี่ก็มีร้านอาหารมากมายไว้รองรับนักท่องเที่ยว อีกทั้งยังมีบาร์และร้านรวงหลายแห่งด้วยเช่นกัน คุณจึงไม่เบื่อเลยกับการใช้วันหยุดยาวที่เปอร์โต กาเลรา

6. อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โตปรินเซซา


       อุทยานแห่งชาติแม่น้ำใต้ดินปวยร์โตปรินเซซา ตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือของเกาะปาลาวัน และยังถือเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยว เพราะนอกจากบรรยากาศดี ๆ รอบด้านแล้ว คุณยังจะได้เห็นอันซีนฟิลิปปินส์อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำใต้ดินที่มีความยาวที่สุดในโลก, สัตว์ป่านานาชนิด รวมถึงค้างคาวด้วย นับเป็นความหลากหลายทางธรรมชาติที่หาดูได้ยาก อีกทั้งไม่ควรพลาดกับการนั่งเรือเข้าไปชมความงดงามของหินงอกหินย้อยรูปร่างต่าง ๆ ที่รับรองว่าทำให้จินตนาการของคุณไม่หยุดนิ่งแน่นอน

7. เมืองดอนซอล


       เมืองดอนซอล มีชายหาดที่สวยงามและขึ้นชื่อเรื่องจำนวนฝูงฉลามวาฬที่มองเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายน แต่ช่วงพีคสุดนั้นอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์และเดือนพฤษภาคม นอกจากนี้ยังมีป่าชายเลนที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก นักท่องเที่ยวจึงนิยมมาล่องเรือมาสัมผัสกับความสดชื่นบริเวณแม่น้ำดอนซอล และในตอนค่ำคืนยังมีหิ่งห้อยนับล้านที่เปล่งแสงออกมาจากเงาไม้ ก่อให้เกิดภาพที่สวยงามมากทีเดียว ที่สำคัญยังหาดูได้ยากในที่อื่นๆ

8. ภูเขาช็อกโกแลต


       ภูเขาช็อกโกแลต ถือเป็นไฮไลท์เด็ดของฟิลิปปินส์ ด้วยภูเขาที่มีลักษณะรูปร่างที่ใกล้เคียงกันเรียงรายอยู่ทั่วเกาะโบฮอลกว่า 1,268 ลูก ทำให้มันเป็นภาพที่งดงามและตระการตาไม่น้อย และความงดงามของแต่ละฤดูกาลยังไม่ซ้ำกัน โดยเฉพาะช่วงที่ภูเขาเปลี่ยนจากสีเขียวสดเป็นสีส้มและสีเหลือง จึงถือเป็นอันซีนฟิลิปปินส์ที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานการเกิดของภูเขาว่า เป็นผลมาจากการต่อสู้ของยักษ์สองตน ซึ่งเมื่อตนหนึ่งแพ้และล้มตายไป ยักษ์ซึ่งเป็นคู่รักจึงร้องไห้เสียใจจนน้ำตาหยดกลายเป็นภูเขา แต่จากการสำรวจของผู้เชี่ยวชาญบอกว่า มันเกิดความผิดปกติทางธรณีวิทยานั่นเอง

9. เกาะโบราไกย


       เกาะโบราไกย เป็นเกาะที่เต็มไปด้วยสีสันของฟิลิปปินส์ ซึ่งมีนักท่องเที่ยวมาเยือนอย่างเนืองแน่นในทุกปี เพราะไม่ใช่แค่วิวทิวทัศน์อันสวยงาม แต่การเดินทางก็ค่อนข้างสะดวก เนื่องจากมีบริการรับ-ส่งจากสนามบินมายังท่าเรือ จากนั้นจึงนั่งเรือต่อมายังเกาะ อีกทั้งยังมีที่พักบนเกาะมากมายให้คุณได้ค้างคืนชิลๆ พร้อมทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ทั้งดำนำ, ล่องเรือ และในยามราตรียังมีคาเฟ่เล็กๆ ให้คุณสนุกกับแสงสียามค่ำคืนด้วย

10. นาขั้นบันไดบานาเว


       อาจพูดได้ไม่เต็มปากว่ามาเยือนฟิลิปปินส์หากไม่ได้แวะมาที่นาขั้นบันไดบานาเว ซึ่งเกิดจากการแกะสลักภูเขาของชนเผ่า Ifugao เมื่อสองพันปีก่อนเพื่อใช้ในการทำฟาร์ม ซึ่งเป็นที่น่าทึ่งว่าในสองพันกว่าปีก่อนนั้นยังไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัย ทว่าชนเผ่าเหล่านี้กลับแกะสลักภูเขาทั้งใบได้อย่างสวยงาม และปัจจุบันมันได้กลายเป็นที่ปลูกข้าวของชาวนาที่มีลักษณะเป็นขั้นบันได ก่อให้เกิดภาพที่สวยงามและยังเหมาะแก่การมาพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติสีเขียวอีกด้วย


       ทึ่งกันเลยใช่ไหมล่ะ ไม่คิดเลยว่าประเทศใกล้บ้านเราอย่างฟิลิปปินส์จะมีที่เที่ยวสวยงามเช่นนี้ โดยเฉพาะทางด้านธรรมชาติที่อุดมไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ป่าชายเลน ทะเล และนาขั้นบันได งานนี้ใครที่เป็นนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ตัวยง ต้องห้ามพลาดเลยนะคะ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ


       ความสัมพันธ์กับสหรัฐ ฯ ฟิลิปปินส์มีความผูกพันแน่นแฟ้นกับสหรัฐ ฯ มากที่สุด จนกล่าวกันว่า ฟิลิปปินส์เป็นรัฐ 51 ของสหรัฐ ฯ ในขณะนั้น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐ ฯ ได้ให้ความช่วยเหลือทางทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมแก่ฟิลิปปินส์เป็นอันมาก ได้มีข้อตกลง และสัญญาทางทหารระหว่างกันอยู่สามฉบับ 

       หลังจากเวียดนามใต้ และกัมพูชาตกเป็นของคอมมิวนิสต์ เมื่อปี พ.ศ.2518 ได้มีการกล่าวถึงปัญหาฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ ต่อมาในปี พ.ศ.2519 สหรัฐ ฯ และฟิลิปปินส์ได้นำข้อตกลงฉบับแรกที่ทำไว้ เมื่อปี พ.ศ.2490 มาทบทวน เพื่อแก้ไขใหม่ มีการเจรจากันหลายครั้ง ในที่สุดได้บรรลุข้อตกลงในปี พ.ศ.2522 โดยสหรัฐ ฯ ยืนยันในอธิปไตยของฟิลิปปินส์ เหนือฐานทัพสหรัฐ ฯ ในฟิลิปปินส์ทุกแห่ง

       ความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.2519 เริ่มทำการค้าระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.2515
ความสัมพันธ์กับประเทศจีน เป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และทำการค้าระหว่างกัน ได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.2518

       ความสัมพันธ์กับประเทศญี่ปุ่น ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับสหรัฐ ฯ และญี่ปุ่น ลงทุนในฟิลิปปินส์เป็นอันดับสองรองจากสหรัฐ ฯ

       ความสัมพันธ์กับประเทศอินโดจีน ได้แก่ กัมพูชา และเวียดนาม ประเทศกัมพูชา ฟิลิปปินส์ได้เปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับกัมพูชา ในระดับเอกอัคราชทูต เมื่อปี พ.ศ.2519 เวียดนามได้มีการเปิดความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างกัน เมื่อปี พ.ศ.2519

       ปัญหาหมู่เกาะสแปรตลี ฟิลิปปินส์ไม่เห็นด้วย กับปฎิบัติการของไต้หวัน และเวียดนามใต้ ที่พยายามจะยึดครองเกาะสแปรตลี ในทะเลจีนใต้ และได้แถลงปฎิเสธ ข้อกล่าวหาของเวียดนามใต้ เมื่อปี พ.ศ.2517 ที่ว่า ฟิลิปปินส์ส่งกองทหารเข้ายึดครองเกาะสองแห่ง ในหมู่เกาะสแปรตลี และย้ำว่าฟิลิปปินส์ไม่เคยอ้างสิทธิใด ๆ เหนือหมู่เกาะสแปรตลี นอกจากหมู่เกาะกาลายา ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับเกาะสแปรตลี เท่านั้น 

       ความสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกอาเซียน ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ได้ร่วมมือกันก่อตั้งสมาคมอาสา (ASA) ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2504 ต่อมาได้เชิญอินโดนิเซีย กับสิงคโปร์เข้าร่วมด้วย และจัดตั้งเป็นสมาคมใหม่ เรียกว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน (Asean) เมื่อปี พ.ศ.2510 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก และต่อมาได้ขยายขอบเขตไปสู่ความร่วมมือทางการเมืองด้วย 

       ฟิลิปปินส์มีปัญหาขัดแย้งกับมาเลเซียเรื่องรัฐซาบาห์ ซึ่งฟิลิปปินส์เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนซาบาห์ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 ก่อนที่ซาบาห์จะรวมเข้ากับสหพันธ์มาเลเซีย ต่อมาความขัดแย้งรุนแรงขึ้น โดยฟิลิปปินส์กล่าวหาว่า มาเลเซียให้การสนับสนุนกบฎมุสลิมทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ จนในที่สุดประเทศทั้งสองได้ตัดความสัมพันธ์กัน ในปลายปี พ.ศ.2511 และได้มีการฟื้นฟูความสัมพันธ์กันอีกครั้ง ในกลางปี พ.ศ.2513 ปัญหาข้อขัดแย้งรัฐซาบาห์ ยุติลงได้ชั่วคราวในปี พ.ศ.2520

       สำหรับประเทศอื่น ๆ ในสมาคมอาเซียนอีกสามประเทศคือ ไทย อินโดนิเซีย และสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ก็มีความสัมพันธ์อันดีมาตลอด

        ในปลายปี พ.ศ.2518 ฟิลิปปินส์ได้เจรจากับอินโดนิเซีย เพื่อให้อินโดนิเซียไกล่เกลี่ยเกี่ยวกับปัญหากบฎมุสลิมทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ต่อมาในปลายปี พ.ศ.2521 อินโดนิเซียและมาเลเซียได้เสนอให้ฟิลิปปินส์ เปิดการเจรจาสันติภาพกับกบฎมุสลิมต่อไป โดยที่สองประเทศยินดีจะเข้าเป็นผู้พิจารณาไกล่เกลี่ยข้อขัดแย้งด้วย

แนวนโยบายเกี่ยวกับประเทศไทย 
       ด้านการเมือง ตามสนธิสัญญามนิลา ปี พ.ศ.2497 (SEATO) ฟิลิปปินส์เคยแถลง เมื่อปี พ.ศ.2522 ว่า ในแง่กฎหมายกฎบัตรของสนธิสัญญา ยัมีผลใชับังคับอยู่แต่เห็นว่าไม่มีความจำเป็นใด ๆ ที่จะรื้อฟื้นขึ้นมาอีก เพราะไม่เชื่อว่า ประเทศไทยจะถูกโจมตีจากภายนอก

       ปัญหากบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ อาจจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของไทยได้ เนื่องจากกลุ่มแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติโมโรของฟิลิปปินส์ มีขีดความสามารถในการดำเนินการต่อสู้ ที่ก้าวหน้ามากกว่า ขบวนการโจรก่อการร้าย (ขจก) ในภาคใต้ของไทย ซึ่งหากกบฎมุสลิมในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ดำเนินการบรรลุเป้าหมายแล้ว ย่อมเป็นทางให้ขบวนการโจรก่อการร้ายในภาคใต้ของไทย ถือเป็นแบบอย่างได้