วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เศรษฐกิจ

โครงสร้างเศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP)

694.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

GDP รายหัว

7,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

อัตราการเจริญเติบโต GDP

6.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

GDP แยกตามภาคการผลิต

• ภาคการเกษตร 10.7%
• ภาคอุตสาหกรรม 31.5%
• ภาคการบริการ 57.8%
(ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

อัตราการว่างงาน

7.2% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

อัตราเงินเฟ้อ (Consumer Prices)

4.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

ผลผลิตทางการเกษตร

อ้อย มะพร้าว ข้าว ข้าวโพด กล้วย มันสำปะหลังอัดเม็ด สัปปะรด มะม่วง เนื้อสุกร ไข่ เนื้อวัว ปลา

อุตสาหกรรม

ประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากไม้ แปรรูปอาหาร กลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ตกปลา

อัตราการเกิบโตภาคอุตสาหกรรม

7.5% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

หนี้สาธารณะ

48.4% ของ GDP (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

ดุลบัญชีเดินสะพัด

8.668 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

มูลค่าการส่งออก

53.36 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

สินค้าส่งออก

ผลิตภัณฑ์สารกึ่งตัวนำและอุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์การขนส่ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ทองแดง ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียม น้ำมันมะพร้าว ผลไม้

ประเทศคู่ค้า (ส่งออก) ที่สำคัญ

Japan 21.2%,
US 14.5%,
China 12.2%,
Hong Kong 8.2%,
Singapore 7.4%,
South Korea 5.8%,
Germany 4%
(ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

มูลค่าการนำเข้า

72.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ f.o.b (ค่าประมาณ พ.ศ. 2557)

สินค้านำเข้า

ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า แร่เชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เหล็กและเหล็กกล้า สิ่งทอ ธัญพืช เคมีภัณฑ์ พลาสติก

ประเทศคู่ค้า (นำเข้า) ที่สำคัญ

China 13%,
US 10.8%,
Japan 8.4%,
South Korea 7.8%,
Singapore 6.8%,
Thailand 5.5%,
Saudi Arabia 4.6%,
 Indonesia 4.4%
(ค่าประมาณ พ.ศ. 2556)

สกุลเงิน

เปโซ (Philippine Peso)

สัญลักษณ์เงิน
PHP
สกุลเงิน Philippine peso เงินเปโซของฟิลิปปินส์ (PHP)

เกษตรกรรม 
พืชเศรษฐกิจสำคัญได้แก่ มะพร้าว อ้อย ป่านอบากา และข้าวเจ้า

นาขั้นบันได

ป่าไม้ 
มีป่าไม้หนาแน่น เป็นรายได้สำคัญ คือ ไม้มะฮอกกานี

เหมืองแร่ 
ฟิลิปปินส์ไม่มีแร่ดีบุก แร่ส่งออกสำคัญ คือ เหล็ก โครไมต์ ทองแดง เงิน

อุตสาหกรรม 
ใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ เยื่อกระดาษ แปรรูปไม้ ปูนซีเมนต์

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์

นโยบายเศรษฐกิจและสังคม 
       ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากร ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร อย่างไรก็ดี สภาพภูมิประเทศที่เป็นหมู่เกาะส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้อย โดยส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบต่ำและเนินเขาที่ปรับให้เป็นขั้นบันไดในบริเวณเกาะลูซอน ขณะเดียวกันประชากรฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นิยมประกอบอาชีพในต่างประเทศ ฟิลิปปินส์จึงพึ่งพารายได้จากแรงงานฟิลิปปินส์ในต่างประเทศเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นส่วนใหญ่

       รัฐบาลภายใต้การบริหารงานด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดีอาคีโน ที่สาม เน้นนโยบายสร้างวินัยทางการคลัง โดยการบริหารงบประมาณแบบสมดุล (zero - budgeting policy) เพื่อแก้ไขภาวะงบประมาณขาดดุล อันเป็นปัญหาสืบเนื่องจากรัฐบาลชุดก่อน ในปี 2553 รัฐบาลได้กำหนดงบประมาณขาดดุลอัตราร้อยละ 4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือประมาณ 625 พันล้านเปโซ เนื่องจากความจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณเพื่อเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภค และอัดฉีดเม็ดเงินให้กับครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ

       นอกจากนี้ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนโดยสนับสนุนการสร้างกลไกความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ - เอกชน (public - private partnerships) และเร่งแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของต่างชาติ ผลักดันกฎหมายป้องกันการผูกขาด (anti - trust law) เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเท่าเทียม รวมทั้งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการลงทุนในสาขาสาธารณูปโภค การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เหมืองแร่ และเกษตรกรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น